กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3920
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณยา Rifampin ในเม็ดยาโดยการเทียบด้วยการประมวลภาพดิจิตอล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing Method to Analyze Dose of Rifampin with Digital Image Processing Techniques
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรพงษ์ แจ่มสว่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
คำสำคัญ: การประมวลผลภาพ -- เทคนิคดิจิตอล
ยา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพดิจิตอล ( digital image processing) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสำคัญ Rifampin ในผลิตภัณฑ์ยาเพื่อรักษาโรควัณโรคเนื่องจากเทคนิค digital image processing เป็นเทคนิคที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้วิเคราะห์ยาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคมาตรฐานเพื่อใช้เป็นวิธีการอ้างอิงในการหาปริมาณ rifampin ในตัวอย่าง โดยตามข้อกำหนดของ the United States Pharmacopeia 39 (USP 39) กำหนดให้ใช้เทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ในการวิเคราะห์ ดังนั้นเทคนิคดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นวิธีอ้างอิงในการวิเคราะห์หาปริมาณที่แท้จริงของตัวยา Rifampin เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิค digital image processing ต่อไป โดยเทคนิค HPLC ที่นำมาใช้ในการศึกษานี้ได้มีการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสมกับเครื่องมือและสารเคมีที่มีอยู่ ซึ่งมีการพัฒนาและเปรียบเทียบชนิดของวัฏภาคเคลื่อนที่ (mobile phase) รวมทั้งอัตราเร็วการไหลของวัฏภาคเคลื่อนที่ (flow rate) วิธีวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องแม่นยำที่สุดคือ การใช้ column ชนิด Hypersil C18 ขนาด 250 x 4.6 mm ขนาดอนุภาค 5 um อัตราส่วนวัฏภาคเคลื่อนที่คงที่คือ Monosodium phosphate (NaH2PO4) ความเข้มข้น 0.01 M ต่อ Acetonitrile (ACN) เท่ากับ 60:40 โดยมีอัตราเร็วการไหล 1.0 mL/min มี injection volume เท่ากับ 20 uL และตรวจวัดสัญญาณของ rifampicin ด้วย UV detector ที่ความยาวคลื่น 360 nm โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวมีค่า Limits of Detection (LOD) เท่ากับ 3.00 ng/ml และ Limits of Quantitation (LOQ) เท่ากับ 0.17 ug/ml มีความถูกต้องแม่นยำในการวิเคราะห์โดยมี %recovery อยู่ในช่วง 95-102% และ %RSD อยู๋ในช่วง 0.1-0.7% ซึ่งน้อยกว่า 2% และเทคนิค HPLC ดังกล่าวที่พัฒนาขึ้นได้นำมาประเมินประสิทธิภาพด้วยการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีขายในท้องตลาดสองชนิดได้ จากนั้นเตรียมตัวอย่างยา Rifampin เพื่อเป็นตัวอย่างผลิตภัณ์ในการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วย digital image processing โดยเตรียมในรูปแบบยาเม็ดให้มีความเข้มข้นของตัวยา Rifampinอยู่ในช่วง 30-150 g/เม็ด และตอกด้วยเครื่อง rotary tableting machine ด้วยแรงตอก 5 นิวตัน จากนั้นวิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้นของยาเม็ดและวิเคราะห์ปริมาณตัวยา rifampin ด้วย HPLC ข้างต้น และนำไปศึกษาด้วยเทคนิค digital image processing โดยใช้ chemometrics method หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจาก digital image processing กับความเข้มข้นที่แท้จริงของยา rifampin ในยาต้นแบบ โดยแบ่งข้อมูลภาพถ่ายจากแสง visible และแสง UV-A สร้าง model ความสัมพันธ์ได้ 6 ชนิด ผลที่ได้พบว่า PLS model ของข้อมูลภาพถ่ายด้วยรังสี UV-A ให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีที่สุดโดยมี linearity ที่ The correlation coefficient (r) 0.9445 โดยมีความถูกต้องแม่นยำสูง การศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าสามารถใช้เทคนิค digital image processing ร่วมกับ chemometrics มาวิเคราะห์ปริมาณยา Rifampin ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดังผลการวิเคราะห์นี้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3920
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_063.pdf9.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น