กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3905
ชื่อเรื่อง: การประเมินศักยภาพของ 4-methoxycinnamyl 4-coumarate ที่แยกได้จากเหง้าเร่วหอมในการเป็นสารต้านอักเสบชนิดใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potential evaluation of 4-methoxycinnamyl 4-coumarate isolated from Etlingera pavieana rhizome as a novel anti-inflammatory agent
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
ณัฏฐกานติ์ จิรัณธนัฐ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เร่วหอม -- สารสกัด
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: 4-methoxycinnamyl p-coumarate (MCC) ที่แยกได้จากเหง้าเร่วหอมแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาร์ไรด์ (LPS) แต่อย่างไรก็ตามฤทธิ์ต้านอักเสบในสิ่งมีชีวิตยังไม่ได้ทำการประเมิน การศึกษานี้จึงถูกออกแบบเพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอักเสบในหนูแรท โดยโมเดลการอักเสบแบบเฉียบพลัน 2 โมเดล คือ การบวมของหูหนูที่เหนี่ยวนำด้วย ethylphenylpropiolate (EPP) และการบวมของอุ้งเท้าหนูที่เหนี่ยวนำด้วย carrageenan นอกจากนี้ยังทำการประเมินความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสาร MCC ในหนูไมซ์ พบว่าสาร MCC ที่ขนาด 3 มิลลิกรัม/หู สามารถลดการบวมของหูหนูที่เหนี่ยวนำด้วย EPP ในทุกช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ ซึ่งให้ผลที่ใกล้เคียงกับยามาตรฐาน phenylbutazone (ขนาด 1 มิลลิกรัม/หู) สาร MCC ที่ขนาด 25, 75 และ 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูที่เหนี่ยวนำด้วย carrageenan อย่างมีนัยสำคัญในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นที่เวลา 1, 3 และ 5 ชั่วโมงหลังการฉีด carrageenan อย่างไรก็ตามฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร MCC ในหนูแรทนั้นมีต่ำกว่าผลของยาแอสไพริน (300 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว) ที่เวลาชั่วโมงที่ 1 ถึง 5 ทำการศึกษาการแสดงของโปรตีน inducible nitric oxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase-2 (COX-2) ในเนื้อเยื่ออุ้งเท้าหนูพบว่าสาร MCC ที่ขนาด 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวยับยั้งปริมาณโปรตีน COX-2 แต่ไม่ยับยั้งโปรตีน iNOS ยิ่งไปกว่านั้นการให้สาร MCC ทางปากแก่หนูไมซ์ ที่ขนาด 2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ไม่พบการตาย และไม่พบลักษณะอาการที่เป็นพิษ จึงสามารถสรุปได้ว่าสาร MCC มีฤทธิ์ต้านอักเสบในหนูทดลองโดยไม่แสดงพิษเฉียบพลัน ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร MCC ในหนูทดลองนี้อาจเกี่ยวข้องกับการลดลงของปริมาณโปรตีน COX-2 ในเนื้อเยื่ออุ้งเท้า ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการนำสาร MCC ไปใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_055.pdf774.93 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น