กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3880
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing of Habitat supporting elderly peoples Saensuk sub-district Muang district Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดนัย บวรเกียรติกุล
ทัศวิญา พัดเกาะ
รจฤดี โชติกาวินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ พัฒนารูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ทดลองใช้รูปแบบการอยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพของ ผู้สูงอายุพร้อมการประเมินผลการใช้รูปแบบ ทำการศึกษาโดยกำหนดรูปแบบ ของอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ดังที่ James Wentling ได้ให้แนวคิดไว้ใน Time-Saver Standard for Landscape Architecture โดยกำหนดขนาดพื้นที่ การใช้พื้นที่ และการใช้งานอุปกรณ์ การดำเนินชีวิตต่าง ๆ ภายในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้อง รับประทานอาหาร ห้องครัว และห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ดำเนินการรับสมัครอาสาสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 3 ครอบครัว (6 ราย) อายุตั้งแต่ 71 – 83 ปี เพื่ออาศัยอยู่ในบ้านของตนเองที่มีการจัดการดัดแปลงปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นเวลา 2 เดือน ทำการวัดสมรรถภาพทางกาย 3 ครั้งด้วยเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ จากสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา (2548) พร้อมทั้งการทดสอบสุขภาพจิต ด้วยโดยใช้แบบสอบถามสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ (Thai Geriatric Mental Health Assessment: T-GMHA-56) คือ ครั้งที่ 1 ก่อนเข้าสู่ โปรแกรมการวิจัย ครั้งที่ 2 ระหว่างอยู่ในโปรแกรมการวิจัย และครั้งที่ 3 หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการวิจัยพร้อมทั้งการออกกำลังกายที่กาหนดไว้ในระหว่างโปรแกรมการวิจัยด้วยผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ของอาสาสมัครผู้สูงอายุทั้ง 3 ครอบครัวผ่านการทดสอบสมรรถนะทางกายในครั้งที่ 1 สำหรับสมรรถนะในด้านกำลังกายโดยงอแขนยกน้ำหนัก 30 วินาที, เดินเร็วอ้อมหลัก และยืนยกเข่าขึ้น-ลง 2 นาทีในระดับดีมากจนถึงปานกลาง ในขณะที่สมรรถนะทางกาย ในด้านความแข็งแรงของของกล้ามเนื้อโดยการยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที ผลการทดสอบอยู่ในระดับต่ำมากจนถึงปานกลาง ส่วนสมรรถนะทางกายในด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโดยการนั่งงอตัวไปข้างหน้า และแตะมือด้านหลัง ผลการทดสอบอยู่ในระดับต่ำมากจนถึงดีมาก อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบครั้งที่ 2 ผลการทดสอบจากทุกสถานีของอาสาสมัครผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าการทดสอบครั้งที่ 1 และผลการทดสอบครั้งที่ 3 กลับลดลงต่ำกว่าผลการทดสอบครั้งที่ 2 แต่ยังสูงกว่าผลการทดสอบครั้งที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครผู้สูงอายุ มีความรู้สึกพึงพอใจและคิดว่าตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้นภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการวิจัยในครั้งนี้ นอกจากนี้ ผลการทดสอบ สุขภาพจิตทั้ง 3 ครั้ง พบว่า อาสาสมัครผู้สูงอายุเกือบทุกท่านมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไปและเป็นปกติเท่ากับคนทั่วไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3880
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_028.pdf12.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น