กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3864
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและคุณสมบัติเชิงเคมีของเนื้อเยื่อและเซลล์เข็มพิษในแมงกะพรุน Sanderia malayensis และ Rhopilema hispidum และกลไกการปล่อยเข็มพิษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Structure and histochemical properties of tissue and nematocyst in jellyfishes Sanderia malayensis and Rhopilema hispidum, and mechanism of nematocyst discharge
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทิน กิ่งทอง
แววลี โชคแสวงการ
ภาคภูมิ พระประเสริฐ
สุภัททา เฉื่อยฉ่่า
วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
ศิริวรรณ ชูศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: แมงกะพรุน
เข็มพิษ
พิษวิทยา
จุลกายวิภาค
กะพรุนไฟ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัจจุบันเกิดภาวะโลกร้อน ทำให้แมงกะพรุนมีการจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวได้รับอันตรายจากการโดนแมงกะพรุนต่อยจำนวนมาก เนื่องจากตามอวัยวะต่าง ๆ ของแมงกะพรุนบรรจุเข็มพิษที่มีลัษณะเป็นกระเปาะ โดยสามารถถูกกระตุ้นให้ปล่อยออกมาเพื่อป้องกันตัวจากผู้ล่า ซึ่งพิษของแมงกะพรุนมี ระดับความรุนแรง ที่แตกต่างกัน มีการใช้น้ำส้มสายชูและผักบุ้งทะเล มาใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แต่มีรายงานว่า น้ำส้มสายชูมีผลกระตุ้นต่อการปล่อยพิษของเข็มพิษ แมงกะพรุนบางชนิดให้มากขึ้น อย่างไรก็ดีความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยาและกลไกการปล่อยเข็มพิษของแมงกะพรุนยังไม่เป็นที่ทราบดีนัก ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะศึกษาสัณฐานและการกระจายของเข็มพิษของแมงกะพรุนไฟมาเลเซีย Sanderia malayensis โดยทำการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และนับจำนวนเข็มพิษเพื่อหาความหนาแน่นของเข็มพิษในหนวด แขนรอบปาก และร่ม พบว่าเข็มพิษมีรูปร่างเป็นกระเปาะและท่อกลวงขดอยู่ภายใน โดยพบเข็มพิษอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มอาจมีขนาดแตกต่างกัน บริเวณหนวดพบเข็มพิษได้มากที่สุด จากนั้นทำการทดสอบการกระตุ้นการปล่อยเข็มพิษด้วยสารเคมีชนิดต่าง ๆ พบว่า น้ำทะเลที่ความเข้มข้น 30 ppt และ ผักบุ้งทะเลบดในน้ำทะเล สามารถยับยั้งการปล่อยเข็มพิษ แต่น้าส้มสายชูจะกระตุ้นการปล่อยเข็มพิษในแมงกะพรุนชนิดนี้ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อแมงกะพรุนไฟมาเลเซียภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านพบเข็มพิษภายในเซลล์สร้างเข็มพิษ (nematocyte) เข็มพิษมีลักษณะเป็นกระเปาะที่มีแคปซูลหนา ภายในเซลล์สร้างเข็มพิษพบเยื่อเอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ (RER) จำนวนมาก คาดว่ามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเข็มพิษ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3864
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_010.pdf4.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น