กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3861
ชื่อเรื่อง: การนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเพิ่มศักยภาพภาคอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mobility of knowledge technology and innovation of Burapha University for enhancing the potentiality of industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์
บุญรัตน์ ประทุมชาติ
ศิริพร ทรัพย์โตทิม
พัชรวรินทร์ เอี่ยมสอาด
น้ำทิพย์ บุญขวาง
วรรณภา โปษยาอนุวัตร์
เจษฎา ปุรินทวรกุล
ศุภากร วนิชลานันท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักบริการวิชาการ
คำสำคัญ: การฝึกอบรม
การบริหารองค์ความรู้
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเพิ่มศักยภาพ ภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักคือ (1) สร้างระเบียบมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน (Talent Mobility) พ.ศ.2562 (2) กิจกรรมการอบรมและเสวนากลุ่ม อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 30 คน และ (3) กิจกรรมกรอกแบบสอบถามจากอาจารย์และบุคลากรที่ให้ความสนใจโครงการ Talent Mobility จำนวน 100 คน เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนำ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percent) และค่าเฉลี่ย (Mean) ซึ่งค่าเฉลี่ยที่ใช้มีการจัดระดับความสำคัญจากค่าน้อยสุดถึงสูงสุด 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 คะแนน 1.00-1.80 ระดับ 2 คะแนน 1.81-2.60 ระดับ 3 คะแนน 2.61-3.40 ระดับ 4 คะแนน 3.41-4.20 และระดับ 5 คะแนน 4.21-5.00 จากการวิจัย ได้ยกร่างระเบียบมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเอกชน (Talent Mobility) พ.ศ.2562 มีผู้เข้ารับการอบรมส่วนมากมาจากคณะวิทยาศาสตร์ 26.67% ตามด้วยคณะเทคโนโลยีการเกษตร (13.34%) ส่วนผู้ให้ความสนใจโครงการ Talent Mobility มากที่สุดมาจากคณะวิทยาศาสตร์ (29.10%) ตามด้วยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (10.47%) โดยผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อบรมสูงขึ้น ก่อนการเข้าร่วมโครงการผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อบรมทั้งหมด 2.74 คะแนน (x= 2.74) และหลังจากการอบรมแล้วผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อบรมทั้งหมดสูงขึ้น (x = 4.69) ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของการอบรมว่ามีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้ของ ผู้เข้ารับการอบรมมากขึ้น กล่าวคือ เข้าใจระบบการทำงานวิจัยและการพัฒนาร่วมกันกับองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม (x= 4.53) อีกทั้งยังสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ (x = 4.77) เข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (x = 4.56) เข้าใจแนวทางในการสร้างเครือข่ายงานวิจัย (x = 4.50) เข้าใจลึกซึ้งในวัฒนธรรมองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม (x = 4.82) และวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาดได้ (x = 4.59) ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อการทำงานร่วมกับภาคเอกชน (x = 4.82) และสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ร่วมกับภาคเอกชน (x = 4.56) และผลจากการเสวนากลุ่ม เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พบว่า มหาวิทยาลัยยังขาดการประชาสัมพันธ์และการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีในมหาวิทยาลัยให้ภาคเอกชน มหาวิทยาลัยไม่มีฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญของอาจารย์/ นักวิจัยอย่างชัดเจนที่เป็นระบบออนไลน์ ภาคเอกชนเข้าถึงอาจารย์/ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยต้องใช้ระยะเวลา และกระบวนการหลายขั้นตอน อีกทั้งมหาวิทยาลัยมีกฎระเบียบในการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ที่ซึ่งระเบียบไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานจริง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3861
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_007.pdf932.43 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น