กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3821
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2020-03-30T13:22:04Z
dc.date.available2020-03-30T13:22:04Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3821
dc.description.abstractในปัจจุบันมีการใช้ภาพระบบสามมิติและเทคโนโลยีเสมือนจริงอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กลับเสื่อมตามวัย การเข้าใจถึงความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในแต่ละวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเองและอิงวัตถุด้วยระบบสามมิติและโปรแกรมเทคโนโลยีเสมือนจริง 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่ตอนต้นกับผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมทดสอบระบบสามมิติร่วมกับ EEG และ ERP และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเองและอิงวัตถุระหว่างผู้ใหญ่ตอนต้นกับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงกิจกรรมทดสอบด้วยภาพกราฟิกสามมิติและภาพสามมิติซ้อนเหลื่อมแบ่งเป็น 4 กิจกรรมทดสอบ โปรแกรมทดสอบด้วยภาพวัตถุพาโนรามาเสมือนจริงแบ่งเป็น 2 การทดสอบ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้มีสุขภาพดีจำนวน 60 คนประกอบด้วย ผู้ใหญ่ตอนต้นจำนวน 30 คน (M=21.23, SD=1.36) และผู้สูงอายุจำนวน 30 คน (M=62.03, SD=1.13) ทั้งหมดเข้าร่วมทดสอบทุกกิจกรรม หลังจากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 2 กลุ่ม ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ภาพกราฟิกสามมิติ ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม และภาพวัตถุพาโนรามาเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ได้ 2) ในกิจกรรมทดสอบด้วยภาพกราฟิกสามมิติ ผู้ใหญ่ตอนต้นมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากกว่า และเวลาปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) Alpha power ที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P7 และ P8 ในผู้ใหญ่ตอนต้นสูงกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) P2 amplitude ของผู้ใหญ่ตอนต้นต่ำกว่าผู้สูงอายุ ที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P8 สำหรับกิจกรรมทดสอบด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเอง (ที่ระดับ .01) และที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P7 และ P8 สำหรับกิจกรรมทดสอบด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงวัตถุ (ที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ) ในกิจกรรมทดสอบด้วยภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม ผู้ใหญ่ตอนต้นมีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากกว่า และเวลาปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) Alpha power ที่ตำแหน่งขั้วบันทึก P7 และ P8 ในผู้ใหญ่ตอนต้นสูงกว่าผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) 3) ในการทดสอบด้วยภาพวัตถุพาโนรามาเสมือนจริง ผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซนต์ความถูกต้องมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ (ที่ระดับ .01) สรุปว่าผู้ใหญ่ตอนต้นมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่าผู้สูงอายุ สิ่งนี้ช่วยให้เข้าใจความแตกต่างของคนและนำไปใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้สูงอายุ มากไปกว่านั้นยังเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบอุปกรณ์นำทางให้แก่ผู้สูงอายุได้th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectความสามารถด้านมิติสัมพันธ์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectคลื่นไฟฟ้าสมองth_TH
dc.titleการความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แบบอิงตนเองและอิงวัตถุโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในผู้ใหญ่ตอนต้นและผู้สูงอายุ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์ต่อเหตุการณ์th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsarawin@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeNowadays, 3D images and virtual reality technology are widely used. However, visuospatial abilities deteriorates with age. Therefore, understanding of visuospatial abilities in each age is important. The objective of this research is to 1) develop egocentric and allocentric visuospatial ability tasks with 3D system and virtual reality technology 2) compare visuospatial abilities between young adults and elderly using 3D system tasks with EEG and ERP 3) compare visuospatial abilities between young adults and elderly using virtual reality technology. 3D graphic and anaglyph 3D image tasks are divided into four tasks. Virtual panoramic object program are divided into 2 tasks. There are 60 healty participants consist of 30 young adults (M=21.23, SD=1.36) and 30 elderly (M=62.03, SD=1.13). All of them participate to perform all activities. Then the data are analyzed to compare the differences of two groups. The results are as follows: 1) Developed 3D graphic, anaglyph 3D and virtual panoramic object images can be used in visuospatial ability tasks. 2) In 3D graphic image tasks, the young adults have higher percentages of correct and lower reaction time than the elderly. The alpha powers at P7 and P8 electrode sites in the young adults are higher than the elderly (at .01 level). The P2 amplitudes in the young adults are lower than the eldery at P8 electrode sites for the egocentric visuospatial task (at .01 level), and at P7 and P8 electrode sites for the allocentric visuospatial task (at .05 and .01 levels, respectively). In anaglyph 3D image tasks, the young adults have higher percentages of correct and lower reaction time than the elderly (at .01 level). The alpha powers at P7 and P8 electrode sites in the young adults are higher than the elderly (at .01 level). 3) In virtual panoramic object tasks, the young adults have higher percentages of correct and lower reaction time than the elderly (at .01 level). In conclusion, the young adults have higher visuospatial abilities than the elderly. It helps to understand differences among people and is used as a guideline to care for the elderly. Moreover, it is also a basic knowledge for developing navigation devices for the elderly.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_319.pdf3.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น