กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3621
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในการพัฒนาสารทาหน้ายาง คุณสมบัติไม่ชอบน้ำอย่างยิ่งยวดสําหรับการกรีดยาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Applications of Nanotechnology in the Development of Superhydrophobic-Coating Material for Rubber Tapping
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: การะเกด เทศศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ยางพารา
น้ำยางพารา
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สังเคราะห์คอลลอยด์นาโนซิลิกา-พอลิไดเมทิลไซลอกเซน (nanoSiO2-PDMS) เพื่อประยุกต์ใช้ ป้องกันหน้ากรีดยางพาราเปียกน้ำฝนและโรคเปลือกเน่า อนุภาคนาโนซิลิกาที่มีขนาดต่าง ๆ สังเคราะห์โดยวิธี โซล-เจล ในตัวกลางผสมเอทานอลและน้ำ ภายใต้สภาวะที่มี NH4OH เป็นสารเร่งปฏิกิริยา การเตรียมสาร เคลือบผิววัสดุที่มีสมบัติไม่ชอบน้ำทําโดยเคลือบผิวอนุภาคนาโนซิลิกาด้วยพอลิเมอร์พอลิไดเมทิลไซลอกเซน ประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันการเปียกน้ำของพื้นผิวจากค่ามุมสัมผัสหยดน้ำบนตัวอย่างไม้ สภาวะการเตรียมที่เหมาะสมทําให้ได้ค่ามุมสัมผัสหยดน้ําสูงที่สุด คือ การใช้อัตราส่วน TEOS 1.5 มิลลิลิตร: ETOH 30 มิลลิลิตร: H2O 20 มิลลิลิตร: NH4OH 3 มิลลิลิตร: PDMS 0.2 มิลลิลิตร ขนาดอนุภาคเฉลี่ยของซิลิกาเท่ากับ 20.5±4.5 นาโนเมตร การเคลือบผิวทําโดยการฉีดพ่นสารคอลลอยด์อนุภาคนาโนซิลิกาที่เตรียมได้ลงบนไม้ ตัวอย่าง จํานวน 3 ครั้ง ทําให้ได้ค่ามุมสัมผัสสูงสุดเท่ากับ 140 สารเคลือบผิวที่เตรียมได้สามารถนําประยุกต์ใช้ ป้องกันหน้ายางการเปียกน้ำและการเกิดโรคเปลือกเน่าในการกรีดยางได้อย่างมีประสิทธิ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3621
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_111.pdf471.26 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น