กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/361
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียงปี 2552
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the project of student camps for learning moral and sufficiency economy 2009
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
สุชาดา กรเพชรปาณี
ประสิทธิ์ พงษ์เรืองพันธุ์
กนก พานทอง
พูลพงศ์ สุขสว่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: กิจกรรมของนักศึกษา - - ไทย
นักศึกษา - - การประเมินศักยภาพ
สาขาการศึกษา
โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง - - การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การประเมินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิลผลการดำเนินงานโครงการ ในด้านการบริหารกหิจกรรมโครงการ ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และสังเคราะห์องค์ความรู้ (คุณธรรมพื้นฐาน) ที่นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้จากโครงการ และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต วิธีการประเมินใช้ 2 รูปแบบร่วมกัน คือ 1) รูปแบบ "จากบนลงสู่ล่าง (Top down)" เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 45 คน และ 2) รูปแบบ "จากล่างลงสู่บน (Bottom up)" เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการในระดับปฏิบัติการ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาภาคสนาม จำนวน 31 คน และ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 1,028 การประเมินทั้ง 2 รูปแบบใช้ข้อมูลทั้งเชิงโครงการและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสัมภษษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 จนถึงเดือนกันยายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าสถิติและเอฟ การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเคราห์องค์ความรู้ (คุณธรรมพื้นฐาน) ที่นิสิตนักศึกษา ได้เรียนรู้จากโครงการในด้านต่างๆ จากเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 102 ฉบับ ผลการดำเนินโครงการ 1. การดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 ในด้านการบริหารและการดำเนินกิจกรรม ปรากฏว่า ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการในทุกด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสมในการบริหารโครงการ ด้านคงามพร้อมของบุคคลากร ด้านความร่วมมือในด้านการดำเนินงาน ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการชี้แจงการดำเนินโครงการ ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงาน ด้านรูปแบบการดำเนินงาน และด้านคู่มือการดำเนินงาน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน และมีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ทำให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีแนวทางในการบริหารงานและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนปัญหาอุปสรรคเล็กน้อยในด้านการบริหารงานโครงการ ได้แก่ ระยะเวลาอนุมัติโครงการล่าช้า ทำให้มีเวลาไม่เพียงพอในการจัดเตรียมโครงการ อาจาย์ที่ปรึกษาภาคสนามมีจำนวนน้อย งบประมาณไม่เพียงพอ และระยะเวลาสรุปผลการดำเนินงานโครงการ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาค่อนข้างน้อยเกินไป นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 99.7) มีความเห็นว่าโครงการค่ายเรียนรู้คุณธณรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สามารถนำประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ค้นพบไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ รวมทั้งสามารถเผยแพร่ขยายผลต่อชุมชนในมหาวิทยาลัยและสังคมในวงกว้างได้อีกด้วย 2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 สรุปได้ว่านิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจมากต่อการเข้าร่วมโครงการ เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับคนในชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน และได้พัฒนาตนเองในเรื่องความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาจำแนกตามเพศ ระดับชั้นปี ประเภทสถาบันอุดมศึกษา และ สถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา ปรากฏว่า นิสิตนักศึกษาชายมีความพึงพอใจเข้าร่วมโครงการมากกกว่านิสิตนักศึกษาหญิง ส่วนนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่1 มีความพึงพอใจเข้าร่วมโครงการน้อยกว่านิสิตชั้นปีอื่น นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนมีความพึงพอใจเข้าร่วมโครงการมากกว่านิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาประเภทอื่น และนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีสถานที่ตั้งอยูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการมากกว่านิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่มีสถานที่ตั้งที่อยู่ในภาคอื่น เนื่องจากนิสิตนักศึกษาบางส่วนมีปัญหารเรื่องการปรับตัวในการลงพื้นที่ นอกจากนี้วุฒิภาวะที่แตกต่างกัน ประกอบกับลักษณะธรรมชาติของนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งแตกต่างกันไป จึงทำให้นิสิตนักศึกษามีความพึงพอใจแตกต่างกัน 3. ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ (คุณธรรมพื้นฐาน) ที่นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้จากโครงการ และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต 3.1 นิสิตนักศึกษาได้รับองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการจำแนกได้ 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง 2) ด้านวิถีประชาธิปไตยในชุมชน 3) ด้านวัฒนธรรมชุมชนที่นำไปสู้ชุมชนเข็มแข็ง 4) ด้านการสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน 5) ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืน 6) ด้านปราชญ์ชาวบ้าน 7) ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน และ 8) ด้านคุณธรรมนำชีวิต การที่นิสิตนักศึกษาเข้าไปในชุมชน ดำเนินชีวิตเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เห็นพฤติกรรม การกระทำ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งได้เห็นความร่วมมือกันของชาวบ้านในเรื่องประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆและการช่วยกันดูแลความเรียบร้อยในชุมชน ทำให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้องค์ความรู้ที่มีอยู่มนชุมชน 3.2 นิสิตนักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ในระดับมาก เรื่องที่นำไปใช้ได้มากที่สุดคือ การได้เรียนรู้แบบแผนการใช้ชีวิตของผู้คนในชุมชนและการได้ศึกษาเรียนรู้ถึงเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง การที่นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้และเห็นตัวอย่างการปฏิบัติจริงของคนในชุมชน ด้านคุณธรรมนำชีวิตพอเพียงของคนในชุมชน โดยอาศัยหลักคุณธรรมพื้นฐาน ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ ทำให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจวิธีการใช้คุณธรรมนำชีวิตในสังคมได้ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปใช้ในการดำเนินชีวิตของนิสิตนักศึกษากลุ่มต่างๆ ปรากฏว่านิสิตนักศึกษาชายระบุว่ามีการนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตมากกว่านิสิตนักศึกษาหญิง นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการดำเนอนชีวิตน้อยกว่านิสิตนักศึกษาชั้นปีอื่น นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนมีการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตมากกว่านิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาประเภทอื่น และนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตมากกว่านิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกาาที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในภาคอื่น สอดคล้องกับผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ อาจเนื่องมาจากนิสิตนักศึกษาแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ประกอบกับธรรมชาติของนิสิตนักศึกษาของแต่ละสถาบันแตกต่างกัน จึงมีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้แตกต่างกัน Abstract The ojectives of the Evaluation of the Project of Camps for Learning Moral and Sufficency Economy 2009 were to assess the execution and activities of the project, study the satidfaction of participating students, and summarize the knowledge (basic morals) that students gained from the project as applied in their daily lives . There were two methods used in the evalution: 1) the top-down method was to gather data and anlyze the opinions of administrative management, that is, the group of 45 administrators from higher education instiutes; and 2) the bottom-up method was used to gather data and anlyze the opinions of project participants in the sample of 31 site supervisory instructors, and in the sample of 1,028 participating students. Both method of assessment were applied to qualitative and quantitative data. Various tools used to gather data: qualitative information was based on deep interview guidelines for site supervisory instructors, while quantitative information deriview from structured for hight dducation exectives, and from questionnaires developed for use with paticipating students. On-site data collection was conducted during June - September 2009. Quantitative data anlysisfocused on the calculation of suitable descriptive statistics, as well as t-test and F ratios. Qualitative data analysis was based on statement from the deep imterview, and on an anlysis of the various perspectives of knoledge that student learned from the project - these included 102 document from higher education instiutes. The project results were as followes: 1) With regard to aspects of administrative management, the performance activities activities achieved overall project ojective and targets. Suitable outcomes were found for project management, readiness of personel, administive coopertion, and understanding of project implementation. However, there were some problems relate to project administration. The approval of the operational period was rather late, resulting in less time for preparatiov; there were few site supervisory instructors; the budget was insufficient; and the time for inverstigating all facets of project operation was too short. Neary all student who participated in the program (99.7%) judged the project to be useful, indicating that they could apply knowledge gained from the project, and showing likely knowledge distribution extending beyound themselves to the university community, and sociecty in genneral. 2) A study of the particiating students' satisfaction for the learning Moral and Sufficiency Economy 2009 project revealed that they felt highly satisfied. This was true by gender, by class year, by type of university, and alsi school location. Within these categores, male students more satisfied than female student; first year student felt less satisfaction than other years; student from private universities felt more satisfaction than those from other types of universities; and student from universities located in the Notheastern Part were more satisfied than those fromr other parts. 3) Results of the anlysis of knowledge gained indicated the flloeing : 3.1 After their participation, students perceiver eight perspectives to their newly-gained knowledge: 1) self dependence as rated to community economy; 2) the ways democracy was applied in their communities; 3) community culture related to community strength; 4) community; 5) sustaining natural resources; 6) local wisdom; 7) immunization creation in the community ; 8) moral for life. 3.2 Hight levels of knoeledge application were observed among the student , with the actual leverls of application in differing in these ways; male tudent applied knowledge from the project to their lives much more than students; first year students applied knowledge to their lives less than student in other years; student from private universities brought to apply much more than students of other universities; and stduents in the univversities located in the Northeast brought knowledge to apply in their lives much more than those whoses universities were in other part.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/361
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น