กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/36
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานภาพและปัญหาของแนวปะการังโดยรอบเกาะเสม็ดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coral reef status survey for tourism development and rehabilitation planning at Koh Samet, Rayong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
สุวรรณา ภาณุตระกูล
นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: นิเวศวิทยาแนวปะการัง - - เกาะเสม็ด (ระยอง) - - วิจัย
ปลาแนวปะการัง - - เกาะเสม็ด (ระยอง) - - วิจัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาวาริชศาสตร์ - - วิจัย
ระยอง - - ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
แนวปะการัง - - เกาะเสม็ด (ระยอง) - - วิจัย
เกาะเสม็ด (ระยอง)
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและสภาพความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง รวมถึงลักษณะการแพร่กระจายของปะการัง องค์ประกอบสิ่งมีชีวิตหน้าดิน และปลาในแนวปะการัง ทั้งสิ้น 14 สถานีรอบเกาะเสม็ดและเกาะที่อยู่ใกล้เคียง ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามในระหว่างเดือน สิงหาคม 2547 ถึงตุลาคม 2547 โครงสร้างของแนวปะการังบริเวณที่ทำการศึกษาทั้งหมดจัดเป็นแนวปะการังน้ำตื้นมีระดับการพัฒนาแนวปะการังไม่มากนัก ความกว้างของแนวปะการังอยู่ระหว่าง 50-80 เมตร ในช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุดมีแนวปะการังบางส่วนโผล่พ้นน้ำ และสิ้นสุดที่ระดับความลึก 2-6 เมตร แนวปะการังบริเวณโซนพื้นราบ (reef flat) อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมมาก ผลการสำรวจประชาคมปลาแนวปะการังจาก 14 สถานีพบปลารวม 99 ชนิดจาก 5 วงศ์ วงศ์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดคือ Pomacentridae พบ 29 ชนิด รองลงมาคือ Labridae พบ 14 ชนิด, Serranidae กับ Apogonidae พบ 6 ชนิด และ Lutjanidae กับ Nemipteridae พบ 5 ชนิด สำหรับวงศ์ที่เหลือพบน้อยกว่า 5 ชนิด เมื่อพิจารณาความชุกชุมรวมของปลา พบ 8,315 ตัว ปลาที่พบมีความชุกชุมมากส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Pomacentridae คือ Chromis artrus (2,131 ตัว), Neopomacentrus azyron (1,254 ตัว) และ N. filamentosus (1,138 ตัว) และที่พบมากกว่า 500 ตัว อยู่ในครอบครัว Apogonidae คือ Apogon cookii และ Archamia fucata จากผลสำรวจแนวปะการังรอบเกาะเสม็ดแสดงให้เห็นว่าแนวปะการังบริเวณเกาะเสม็ดมีลักษณะโครงสร้างและสภาพความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแตกต่างกัน โดยศักยภาพในการใช้ประโยชน์จัดเป็นกลุ่มตามสภาพโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. จุดดำน้ำตื้นสภาพดี ได้แก่ อ่าวลูกโยน อ่าวเทียน (อ่าวลุงดำ) อ่าวหวาย อ่าวกิ่วหน้าใน 2. จุดดำน้ำลึกสภาพดี ได้แก่ อ่าวกะรัง เกาะจันทน์ แหลมพระ แหลมเรือแตก อ่าวเตย 3. จุดดำน้ำตื้นสภาพควรฟื้นฟู ได้แก่ อ่าวพร้าว 4. จุดดำน้ำลึกสภาพควรฟื้นฟู ได้แก่ หินขาว แหลมใหญ่ 5. จุดดำน้ำที่ควรปิดเพื่อการฟื้นฟู ได้แก่ อ่าววงเดือน อ่าวกิ่วหน้านอก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/36
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น