กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3539
ชื่อเรื่อง: การคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและผลเลือดทางชีวเคมี จากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงในแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก: ปัจจัยที่มีผลกระทบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Occupational Health Screening on Respiratory Impairment and Blood Biochemical Parameters from Insecticide Exposure among Migrant Workers in Eastern Region: Factors affecting
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนามัย เทศกะทึก
ธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์
วัลลภ ใจดี
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ระบบทางเดินหายใจ - - โรค
แรงงานต่างด้าว
ชีวเคมี
ย่าฆ่าแมลง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย สมรรถภาพปอด อาการระบบทางเดินหายใจ ผลเลือดทางชีวเคมีรวมทั้งปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่ออาการระบบทางเดินหายใจ ของเกษตรกรที่เป็นแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก จำนวน 274 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตรวจหาเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรสในเลือดโดยใช้ กระดาษทดสอบพิเศษและตรวจสมรรถภาพปอด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกร จำนวน 274 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.6 อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 30.80 (9.46) ปี ระยะเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงครั้งละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 59.9 ระยะเวลาเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 6.02 (1.73) ชั่วโมง การตรวจคัดกรองเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการทดสอบอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 23.4 มีความเสี่ยง ร้อยละ 2.2 จากการสัมภาษณ์พบว่า เกษตรกรมีอาการไอเมื่อตื่นนอนทันที ร้อยละ 51.4 มีเสมหะเป็นประจำ ร้อยละ 50 แน่น หายใจลำบาก ร้อยละ 37 และเจ็บหน้าอก ร้อยละ 42 ผลการตรวจสมรรถภาพปอด พบค่าเฉลี่ยของ Force Vital Capacity (FVC) เท่ากับ 2.96 (.585) ลิตร ค่า Forced Expiratory Volume Time (FEV1) เท่ากับ 2.64 ลิตร (0.52) และ ค่าเฉลี่ย FEV1/FVC เท่ากับ 89.69% (8.36) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple linear regression) ของตัวแปรอิสระต่อการเปลี่ยนแปลงค่า FVC พบวา เพศ อายุ การปลูกลำไย การรับสัมผัสไอสารกำจัดแมลงเป็นตัว แปรที่มีผลกระทบต่อค่า FVC (R = .59 , R square = .34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และ พบว่า การมีหน้าที่เก็บลำไย เป็นตัวแปรที่มีผลต่อค่า FVC/FEV1 (R = .323, R square = .104) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุลอจีสติก (Multiple logistic regression) ของตัวแปรอิสระกับอาการระบบทางเดินหายใจ พบว่า เพศหญิงมีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.787 (1.210, 6.470) การดื่มสุรามากกว่า 4 แก้วต่อสัปดาห์ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 4.675 (1.395,15.671) การรับสัมผัสฝุ่นมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.743 (1.238, 6.093) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการคัดกรองสมรรถภาพปอดของเกษตรกรที่เป็นแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นเพศชาย ผู้ที่ปลูกลำไย ผู้ที่รับสัมผัสไอสารกำจัดแมลง ส่วนการคัดกรองอาการระบบทางเดินหายใจ คือ ผู้ที่ดื่มสุรา การรับสัมผัสฝุ่น เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการใช้สารกำจัดแมลงมากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3539
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_098.pdf1.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น