กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3526
ชื่อเรื่อง: การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษา เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน เซโน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Human Resource Management of Multinational Enterprises in Laos PDR: A Case Study of Savan-Seno Special Economic Zone
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่
วรรณภา ลือกิตินันท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การบริหารทรัพยากรมนุษย์
บรรษัทข้ามชาติ
การลงทุนของต่างประเทศ
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษา เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน เซโน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาส ปัญหา และข้อควรคำนึงถึงในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติใน สปป.ลาว เพื่อศึกษาวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสปป.ลาว ตามหน้าที่งานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมชาติในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติใน สปป.ลาว โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก คณะผู้วิจัยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหาร ผู้จัดการแผนกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พนักงานแผนกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานชาวไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติงานและให้คำปรึกษาด้านการบริหารแก่บริษัทลงทุน ข้ามชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะ-หวัน เซโน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 5 คน จาก 3 บริษัท พบว่า โอกาสมาจากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจสะหวันเซโน ในเรื่องของภาษี การลดค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง ค่าสาธารณูปโภค ปัญหาที่พบประกอบด้วย ปัญหาด้านกำลังคน ปัญหาการลาออก ปัญหาเวลาการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านการติดต่อหน่วยงานราชการ และด้านกฎหมาย ข้อควรคำนึงถึง คือนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ชาวไทยควรปรับตัวในการทำงาน ทำความรู้จักหน่วยงานทั้งเอกชนและราชการในพื้นที่ ต้องศึกษาภาษาประจำชาติ และวัฒนธรรม และควรมีชาวลาวเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์ บริษัททั้ง 3 แห่ง นำแนวทางการบริหารจากประเทศไทยมาใช้ โดยอาจไม่ไม่ได้นำมาทั้งหมด หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม การตัดสินใจในการบริหารทั่วไปอำนาจจะอยู่ที่ สปป. ลาว การสรรหาและคัดเลือก ใช้ระบบจากประเทศไทย แต่มีการปรับให้เข้ากับลักษณะของพื้นที่ การฝึกอบรม มีการจัดการฝึกอบรมโดยใช้แนวทางของประเทศไทย แต่ปัญหาที่พบคือ ขาดวิทยากร ค่าตอบแทนแต่ละกิจการจะยึดตามกฎหมายแรงงานของสปป. ลาว โดยค่าตอบแทน ต่าง ๆ จะให้คล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยจะต้องมีการปรับวันหยุด วันลา ตามวัฒนธรรม และกฎหมายของ สปป.ลาว ต้องปรับสวัสดิการตามลักษณะของพื้นที่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้แนวทางเดียวกับประเทศไทย โดยต้องชี้แจงให้พนักงานเข้าใจ การพนักงานสัมพันธ์ ยังไม่ได้มีการนำ มาใช้มากนัก การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมชาติ โดยพนักงานชาวลาวให้ความสำคัญกับความสบายใจในการทำงานเป็นหลัก และการสื่อสาร เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จะต้องให้เกียรติพนักงาน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3526
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_071.pdf444.21 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น