กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3509
ชื่อเรื่อง: ผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียก่อโรคที่สำคัญและคุณสมบัติทางการดื้อยาหลายขนานจากชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of global warming on the occurrence of important pathogenic bacteria and multi-drug resistance properties of bacteria in Bangsaen and Pattaya beaches, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: แบคทีเรียทะเล -- ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
การดื้อยา
โรคเกิดจากแบคทีเรีย
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทําการศึกษาถึงผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียก่อโรค ที่สําคัญและคุณสมบัติทางการดื้อยาหลายขนานจากชายหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี การศึกษาได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ที่ทําการศึกษาถึงยีนความรุนแรงในการก่อโรค ได่แก่ กลุ่มยีนดื้อยา sul1, cmlA, cat1, sul1/dhfrV, CITM และ tetA ซึ่งเป็นยีนดื้อต่อยา Sulfonamide, Chloramphenicol, Trimethoprim-sulfamethoxazole, Ampicillin และ Tetracycline ใน E. coliและ K. pneumoniae ผลการศึกษาตรวจพบ E. coli จํานวน 90 สายพันธุ์ ที่มียีนก่อโรคกลุ่มดื้อยา Sulfonamide (ยีน sul1) 6.66%, ยีนดื้อยา Chloramphenicol (ยีน cmlA และ cat1) 7.78%, ยีนดื้อยา Trimethoprim-sulfamethoxazole (ยีน sul1/dhfrV) 1.11%, ยีนดื้อยา Ampicillin (ยีน CITM) 16.66% แต่ไม่พบยีนก่อโรคในกลุ่ม AmpC (ยีน blaCMY-1 และ blaCMY-2) และ Tetracycline (ยีน tetA) ส่วนการตรวจหายีนความรุนแรงในการก่อโรคใน K. pneumoniae จํานวน 56 สายพันธุ์ ตรวจพบยีนดื้อยา Sulfonamide (ยีน sul1) 12.50%, ยีนดื้อยา Chloramphenicol (ยีน cmlA และ cat1) 10.71%, ยีนดื้อยา Trimethoprimsulfamethoxazole (ยีน sul1/dhfrV) 12.50%, ยีนดื้อยา Ampicillin (ยีน CITM) 19.64% แต่ไม่พบยีนก่อโรคกลุ่ม AmpC (ยีน blaCMY-1 และ blaCMY-2 ) และ Tetracycline (ยีน tetA) ส่วนที่ 2 ได้แก่ การศึกษาถึงสายพันธุ์ O111 และ O26 ของ E. coli ผลการศึกษาพบว่า E. coli ทั้งหมด 90 สายพันธุ์ไม่ใช่สายพันธุ์ O111 และ O26 และส่วนที่ 3 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดื้อยา การผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคตาเมส และการพบยีนดื้อยา ผลการทดลองพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดื้อยา การผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคตาเมส และการพบยีนดื้อยาของ E. coli ที่แยกได้จากดินตะกอนและน้ำทะเลบริเวณบางแสนและพัทยา จ.ชลบุรี มีความสัมพันธ์ต่ำ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดื้อยา การผลิตเอนไซม์เบต้า-แลคตาเมส และการพบยีนดื้อยาของK. pneumoniae ที่แยกได้จากดินตะกอนและน้ําทะเลบริเวณบางแสนและพัทยา จ.ชลบุรี พบว่ามีความสัมพันธืกันสูง จึงทําให้เกิดความน่าสนใจที่จะทําการศึกษาต่อเนื่องถึงเหตุผลดังกล่าวเพื่อทําให้สามารถควบคุมและคาดการณ์การเกิดโรคระบาดรวมทั้งการรักษาได้อย่างถูกต้องของ E. coli และ K. pneumoniae โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ทําการศึกษา เพื่อจะทําให้ลดค่าใช้จ่ายที่มีผลกระทบทางด้านสาธารณสุข ทางการท่องเที่ยวและทางด้านสังคมเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมากมายมหาศาลนั่นเอง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3509
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_057.pdf14.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น