กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/347
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษาของชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community potential in coastal resource management for ecotourism: A case study of Ban Bang sa Kao, Laem Singh, Chanthaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วศิน ยุวนะเตมีย์
ธชณัฐ ภัทรสถาพรกุล
สถิตย์ แสนเสนาะ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ทรัพยากรชายฝั่ง
ศักยภาพชุมชน
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งของชุมชนบ้านบางสระเก้าเพื่อการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมภายในชุมชน กล่าวคือ ชุมชนบ้านบางสระเก้าได้มีแนวคิดริเริ่มสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ สร้างเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนโดยผลักดันและดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยสร้างฐานกิจกรรมการเรียนรู้แยกออกเป็น 6 ฐานการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ 1) การฟื้นฟูสัตว์น้ำ "ธนาคารปู" 2) การฟื้นฟูสัตว์น้ำ "บ้านปลา" 3) วิถีชีวิตคนประมงน้ำตื้น 4) สมุนไพรใกล้ตัว 5) ภูิมิปัญญาท้องถิ่นการถนอมอาหาร และ 6) ภูมิปัญญาการทอเสื่อกกบางสระเก้า นอกจากนี้ได้ทำการประเมินตัวชี้วัดความเข้มแข็งในภาพรวมและมิติเฉพาะด้านของชุมชนบ้านบางสระเก้าในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งที่เชื่อมโยงสู่การส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยใช้กรอบองค์ประกอบมาตรฐานตัวชี้วัดของดัชนีความเข้มแข็งชุมชนภาพรวมใน 9 มิติ ดังต่อไปนี้ 1) มิติความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน 2) มิติความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน 3) มิติการมีวิสัยทัศน์ของชุมชน 4) มิติความรักและหวงแหนของชุมชน 5) มิติความเข้มแข็งของการผลิต 6) มิติความเข้มแข็งของกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 7) มิติบริบททางกายภาพของชุมชน 8) มิติความรู้เครือข่ายความรู้ของชุมชน และ 9) มิติการมีโลกทัศน์ด้านนิเวศของชุมชน ผลการประเมินความเข้มแข็งของชุมชนตามองค์ประกอบมาตรฐานของกลุ่มตัวชี้วัด โดยเป็นการประเมินร่วมกันระหว่างแกนนำชาวบ้านและกลุ่มนักวิจัยที่ได้เข้าไปสัมผัสชุมชนเป็นระยะเวลาหนุ่ง พบว่าชุมชนบางสระเก้ามีคะแนนรวมเฉลี่ยในการประเมินมิติต่าง ๆ เท่ากับ 4.26 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง นั่นคือ ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ ถือว่าเป็นบทเรียนกรณีศึกษาต้นแบบให้กับชุมชนอื่นได้เป็นอย่างดี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/347
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น