กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3381
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิผลของนักเรียนระดับประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors of academic administration infacilitating effective analytical thinking skills of primary students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
จงดี เยือกเย็น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะทางการคิด
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิผลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 แห่ง รวม 21 คน มีขั้นตอน การวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับปัจจัยการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิผลของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต และบันทึกภาคสนามโดยวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา และ 3) การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบบว่า ปัจจัยการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิผลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยทางวิชาการ ปัจจัยทางการบริหาร ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการประกอบด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การสร้างศรัทธา การสร้างแรงจูงใจ การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และการเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2) ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์และนโยบายประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การพัฒนามุ่งสู่เป้าหมายและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3) ปัจจัยด้านงบประมาณ ประกอบด้วย การจัดสรรงบประมาณ การระดมทรัพยากร การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การจัดอาคารสถานที่ การจัดบรรยายภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ จัดเสื่อ แหล่งเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวก และจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ทุกชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยทางวิชาการ ได้แก่ 1ป ปัจจัยด้านหลักสูตรประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การพัฒนากิจกรรมการคิดวิเคราะห์ และการสนับสนุนงบประมาณ 2) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน การใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดเป็นตัวกำกับ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายและการวิจัยในชั้นเรียน 3) ปัจจัยด้านการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย การวางแผนการวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย และการนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอน และ 4) ปัจจัยด้านการนิเทศประกอบด้วย การวางแผนการนิเทศ การใช้รูปแบบการนิเทศที่หลากหลาย และนำผล การนิเทศไปใช้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3381
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
eduman9n2p17-32.pdf1.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น