กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3359
ชื่อเรื่อง: การประเมินการใช้กำลังคนตามแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสี่จังหวัดยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกของประเทศไทย (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
บุญร่วม นภาโชติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาชุมชน
กำลังคน
ผู้นำชุมชน
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มุ่งที่จะประเมินการใช้กำลังคนตามแผนอัตรากำลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าในการจัดทำแผนอัตรากำลังคนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกที่ยึดหลักเกณฑ์ การกำหนดตำแหน่งตามระเบียบการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 35 และมาตรา 42 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ม.ป.ป.) เป็นแนวปฏิบัติเป็นหลักนั้น มีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ สามารถ รองรับภารกิจตามอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ สามารถแก้ปัญหาชุมชนในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ประชากรของการวิจัยเป็นผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 167 หน่วยงานใน4 จังหวัดยุทธศาสตร์ภาคตะวันออก พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำแนกตามตำแหน่ง มีตำแหน่งเป็นปลัด 145 คน คิดเป็นร้อยละ 86.8 รองลงมามีตำแหน่งเป็นนายก 22 คน คิดเป็นร้อยละ 13.2 ผลการวิจัยมีข้อสรุปว่าในการวิเคราะห์ถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย คือ ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาและองค์ความรู้เดิมจากเนื้อหาในบทที่ 2 ดังต่อไปนี้ในขอบเขตของทฤษฎีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนากับการวางแผน อัตรากำลังคน พบว่า ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (5 ปี) การจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี แผนการดำเนินการ (Action Plan) นั้น ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำหรับการจัดทำแผนอัตรากำลังคนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้งบประมาณการบริหารงานบุคคลไว้ไม่เกินร้อยละ 40 ดังนั้นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ปี การจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี การจัดทำ แผนอัตรากำลังคนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไข ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดและทฤษฎีในขอบเขตของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ประเด็นเรื่อง การประเมินการใช้กำลังคนตามแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชน ยังเป็นเรื่องใหม่และมีความท้าทาย ทำให้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้วิจัยไว้แล้วไม่สอดคล้องกับงานวิจัยนี้แต่สิ่งที่เห็นได้จากงานวิจัยที่ได้นำเสนอนี้ ต่างให้ความสำคัญกับการจัดการและการบริหารทรัพยากรบุคคล/ พนักงานจ้างตามภารกิจภายในองค์กร ทำให้เห็นว่า ประเด็นเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการวางแผนอัตรากำลังคนเป็นเรื่องที่สำคัญในการนำมาช่วยพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ นอกจากนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่พบจากการวิจัย ยังชี้ให้เห็นว่า การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขที่มีอยู่ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่อาจพัฒนาหรือไม่อาจจะดำเนินการตามความต้องการของหน่วยงานได้ ทำให้การพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริงนั้น ยังคงเป็นจุดอ่อนของการวางแผนกลังคนตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ในหลายภารกิจที่เป็นความต้องการของชุมชน เกินกำลังความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะหลายภารกิจเป็นหน้าที่ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค จังหวัดและภาคเอกชน เช่น ปัญหาภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ ศูนย์กระจายสินค้า ประชากรแฝง การพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน เป็นต้น The research aims to assess personnel and manpower administration by the local government organizations. It aims to investigate 1) whether the personnel strategic plans, that comply with the Department of Local Administration’s Local Public Personnel Administration Act of 1999, Articles 35 and 42, conducted by the major eastern strategic provinces, are within the scope of responsibilities for the organizational services; and 2) whether they are able to effectively tackle the community’s issues and problems under the local administration in positions of responsibility. The population of the study is comprised of the management officials from 167 local government organizations in the four eastern strategic provinces. It was found that the samples of such a population were 145 deputy governors, accounted for 86.6 per cent, and 22 chief executives, accounted for 13.2 per cent. The findings from the study reveal a new body of knowledge that extends the scientific body of existing literature on Political Science. This can be summarized as follows: Within the realms of theory in relation to a developmental strategy and the personnel strategic plans, the result was that, in preparation for 5-year developmental strategic plan, 3-year developmental plan, and the action plan, these need to be conform to the provinces’ developmental strategic plans. The preparation for local manpower plan has to comply with the Local Public Personnel Administration Act of 1999, which states that personnel administration must not exceed 40 per cent of the total scheme. Therefore, it is essential that the preparation for the 5-year developmental strategic plan, 3-year developmental plan, and the local manpower plan of the local government organizations corresponds to such conditions and, thereby conforming to the theoretical framework. In relation to the relevant research scope, it was found that the assessment of manpower in accordance with the strategic plan for community development was new and as such challenging. For this reason, the related studies’ findings diverge from the current studies. Nonetheless, they share some similarities with regard to the importance of the internal management and personnel administration. This in turn sheds light to the preparation for the developmental strategic plan and developmental manpower plan, leading to the organizational settled target.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3359
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
politic8n3p33-52.pdf707.58 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น