กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3228
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.authorเรวดี จันทร์รัศมีโชติ
dc.contributor.authorสมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:21:25Z
dc.date.available2019-03-25T09:21:25Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3228
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ด้วยตนเอง โดยประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างรูปแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ ประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (is) จำนวน 186 คน และเรียน จำนวน 571 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการทดลองรูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาขึ้น ได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน ได้แก่กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่ม ควบคุม จำนวน 40 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแบบสอบถาม การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า effect size และค่าเปอร์เซนไทล์ ผลการวิจัย 1) ความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด คือการเตรียมความพร้อมของตนเอง รองลงมา คือ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในสถานการณ์อื่นได้ ด้านครูมีความต้องการพัฒนาผู้เรียนมากที่สุด คือ การสร้างมาตรฐานการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือ ส่งเสริม ให้นักเรียนหยั่งเห็นปัญหาได้ตามความเป็นจริงโดยใช้กระบวนการวิจัยในการแสวงหาความรู้ใหม่ และนำข้อค้นพบไปนำเสนอต่อสังคม 2) รูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 11 ขั้นตอนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเตรียมความพร้อม ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมการกระตุ้นด้วยปัญหา ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ขั้นตอนที่ 4 การหาคำหรือประโยคที่สำคัญ ส่วนที่ 2 การพัฒนาความคิด ได้แก่ ขั้นตอนที่ 5 การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความคิด ขั้นตอนที่ 6 จัดระบบการทำงานและลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 7 ระดมความคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และส่วนที่ 3 การลงมือกระทำได้แก่ ขั้นตอนที่ 8 ฝึกปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูล และฝึกการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 9 นำข้อมูลที่ได้มาสร้างหรือเขียนวิธีการในการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 10 ตรวจสอบสมเหตุสมผล ขั้นตอนที่ 11 นำข้อมูลที่จัดระบบแล้วมาทำการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป 3) พยบว่าประสิทธิผลมาจากมากไปหาน้อย คือ ความรับผิดชอบการเรียนของตน มีความรักการเรียน การมีมโนทัศน์ตนเอง ความสามารถใช้ทักษะพื้นฐาน และทักษะการแก้ปัญหา การเปิดโอกาศต่อการเรียนรู้ ความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการมองอนาคตในแง่ดีth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการเรียนรู้th_TH
dc.subjectการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองth_TH
dc.subjectทฤษฎีสรรคนิยมth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยth_TH
dc.title.alternativeDevelopmeng a self-directed learning instructional model for mathayomsuksa three students by using applied constructivism theory to learning with a research processen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue3
dc.volume26
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were; 1) to study the demand of the development of self-directed learning by applying constructivism theory into the research process for learning of mathayomsuksa 3 students, 2) to create self-directed learning model, 3) to study the effectiveness of the developed self-directed learning process. The samples comprised of 3 group, they were; 1) sample group which was used to analyze confirmatory factor composing 186 teachers who taught independent study and 571 students in those classes, who were simple random selected from school as the unit of randomization. 2) The sample group which was used for implementing the self-directed learning development model. They were 80 mathayomsuksa 3 students in 2557, 40 students for experimental group and 40 students for control group. Research instrument consisted of questionnaire on self-directed learning model development and self-directed learning achievement test statistic for data analysis were mean, standard devition, effect size and percentile. It was found that; 1) the demands for the development of self-directed learning by applying constructivist theory into the research process of learning of mathayomsuksa 3 students were; for self preparation, for search for more information from other resources that could apply it in other situation. While teachers most need was to develop their students and encouraged them to make self-directed learning standard and to specify appropriate problem solving standard, second was enabling student to perceive and recognized problem by using research for finding the answer or new knowledge from real life situation that applicable to society. 2) The developed self-directed learning module consisted of three parts with 11 activities. Part one: the preparation consisted of four activities they were: 1) planning activity, 2) stimulating with problem, 3) analyzing the problem and 4) identifying the main word or sentence. Part two: the thinking development, consisted of three activities they were: 5) organizing activity to generate idea, 6) organizing work system and starting the task, 7) brainstorming for ideas exchange. Part three: the action consisted of four activities they were: 8) start the operation, collecting data and try solving the problem, 9) writing up the problem solving process from the data, 10) validating the process and 11) Analyzing the organized data for conclusion. The strengths of the development model were that students enjoyed the activities, they share knowledge and ideas and were more active in learning. 3) Concerning the effectiveness of the development model, it was found that students were more responsible to their learning, love to learn, having self-image, better ability in using basic skills, having creativity and finally having positive attitude toward future.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University
dc.page14-27.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu26n3p14-27.pdf214.48 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น