กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/319
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก : การพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านท่องเที่ยว
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
เกศริน อิ่มเล็ก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว - - ไทย - - วิจัย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย (ภาคตะวันออก)
โฮมสเตย์
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว - - บริการลูกค้า
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก: การพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์หลักมุ่งเน้นศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ที่มีต่อการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออกโดยวิเคราะห์เรื่องปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเดินทาง และความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางพำนักที่พักแรมแบบโฮมสเตย์จำนวน 308 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง(Structure Questionnaire ) และใช้ระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงสิงหาคม พ.ศ.2549 แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์)เป็นเวลา 20 วัน และวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นเวลา 10 วัน และเลือกช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวเข้าพักแรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเดินทาง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.6 มีอายุเฉลี่ย 34.81 หรือ 34 ปี 10 เดือน ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 55.2 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 44.2 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเกชนมากที่สุด ร้อยละ 35.8 ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ในระดับ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 35.1 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ร่วมเดินทางในแต่ละครั้งของนักท่องเที่ยวใน 6 เดือนที่ผ่านมา และอายุมีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้ร่วมเดินทาง การจัดการสภาพแวดล้อม และลักษณะของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ร่วมเดินทางในแต่ละครั้งของนักท่องเที่ยวใน 6 เดือนที่ผ่านมา ช่องทางการให้บริการ และจำนวนวันที่เข้าพัก นอกจากนี้จำนวนผู้ร่วมเดินทางของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจรวม ได้แก่ การส่งเสริมการตลาด ราคาค่าบริการจำนวนวันที่เข้าพัก จำนวนผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ของนักท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันที่เข้าพักและจำนวนวันที่พักของนักท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับลักษณะของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ คุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ 7 ด้านมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ลักษณะที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ราคาค่าบริการ ช่องทางการให้บริการ การส่งเสริมการตลาด การจัดการด้านกระบวนการด้านต่างๆ ผู้ให้บริการ และการจัดการสภาพแวดล้อม การศึกษาด้านคุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ทำให้พบข้อเสนอแนะด้านการวิจัย คือ ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทำให้การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (Cluster) ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของชุมชน ไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การประเมินและติดตามผลคุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประกอบการทราบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้มีคุณภาพมาตรฐานของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์และสามารถกระตุ้นนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาพักแรมได้อย่างสม่ำเสมอ และนำไปสู่การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์อย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/319
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_218.pdf6.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น