กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2838
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ไชยมงคล
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
วณิตา ขวัญสำราญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความสามารถในตนเอง
พฤติกรรมสุขภาพ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เด็ก - - สุขภาพและอนามัย
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียน และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 246 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม 8 ชุด ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพสำหรับเด็กวัยเรียน พื้นอารมณ์เด็กวัยเรียน สภาพแวดล้อมที่บ้านการสนับสนุนสังคม การรับรู้ความสามารถตนเอง ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .70-.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Pearson’s correlation coefficients, point bi-serial coefficients, hierarchical และ stepwise multiple regression analyses ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมเท่ากับ 103.60 (S.D. = 10.61) ตัวแปรในปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ คือ เพศ (หญิง) (r = .201, p < .01) พื้นอารมณ์ด้านการติดตามงาน (r = .169, p < .01) และกิจกรรมเคลื่อนไหว (r = -.122, p < .05) และลักษณะครอบครัว (เดี่ยว) (r = .132, p < .05) และตัวแปรในปัจจัยปกป้องที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมสุขภาพ คือ การสนับสนุนทางสังคม (r = .306, p < .001) การรับรู้ความสามารถตนเอง (r = .458, p < .001) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ (r = -.127, p < .05) และทัศนคติต่อสุขภาพ (r = .116, p < .05) การรับรู้ความสามารถตนเอง เพศของเด็ก (หญิง) และการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนได้ ร้อยละ 28.1 (F3,209 = 27.164, p < .001) การรับรู้ความสามารถตนเองอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสุขภาพได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 21.0 ( = .413, t = 6.797, p < .001) รองลงมาคือ เพศของเด็ก (หญิง) ร้อยละ 4.2 ( = .183, t = 3.098, p < .01) และสนับสนุนทางสังคม ร้อยละ 2.9 ( = .179, t = 2.923, p < .01) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ พยาบาลและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพเด็กควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กวัยเรียนมีการรับรู้ความสามารถตนเองในด้านสุขภาพที่ถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ สิ่งของ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและเหมาะสมมากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2838
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
14-28.pdf1.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น