กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2777
ชื่อเรื่อง: อัตราการเต้นของหัวใจกับการออกกำลังกายและการฝึกกีฬา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา เจริญวัฒนะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การฝึกกีฬา
การออกกำลังกาย
อัตราการเต้นของหัวใจ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2551
บทคัดย่อ: อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัวแปรพื้นฐานสำคัญของการออกกำลังกายที่บ่งบอกความสัมพันธ์ของสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่น เพศ, วัย เป็นต้น เมื่อมีการออกกำลังกายหัวใจจะทำงานมากขึ้นซึ่งเป้นผลการทำงานของระบบประสาทซิมพาธีติก, พาราซิมพาธีติก, การหลั่งแอดรินาลินและนอแอรินาลินจากต่อมหมวกไต อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกายนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการขนส่งออกซิเจนของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นหรือเรียกว่าเป็นการเพิ่ม Oxygen consumption (V O2) ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มสมรรถภาพในเชิงแอโรบิก การวัดอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายมี 2 วิธี ได้แก่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่สัมผัสได้จากผิวหนัง เช่น บริเวณข้อมูล และการใช้เครื่องมือวัด โดยมีหน่วยเป้นจำนวนครั้งต่อนาที การวัดอัตราการเต้นของหัวใจมีหลายแบบเช่น การวัดในขณะพัก ขณะออกกำลังกายและการวัดอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด การวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักควรทำภายหลังการตื่นนอนตอนเช้าประมาณ 2-5 นาที ในขณะนอนบนเตียงและไม่มีการเคลื่อนไหว ใช้การนับอัตราการเต้นของหัวใจใน 60 วินาที โดยการวัด 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อค่าที่แม่นยำ การสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักที่เปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่า 10 ครั้งต่อนาทีในช่วงที่มีการฝึกซ้อมกีฬามักเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยและการฝึกซ้อมที่หนักเกินไป (overtraining) ควรแจ้งให้โค้ชหรือแพทย์ประจำทีมทราบเพื่อตรวจให้แน่ชัด อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายเป็นตัวบ่งชี้ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาเมื่อมีการฝึกการออกกำลังกายในเชิงแอโรบิกเป็นระยะเวลา 3-6 เดือนที่ความหนักของงานต่ำกว่า 85% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (submaximal exercise) จะแสดงผลการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง 10-15 ครั้งต่อนาที การกำหนดความหนักของการออกกำลังกายสามารถกำหนดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่หัวใจสามารถบีบตัวได้ 1 นาที โดยตัวเลขที่แสดงร้อยละของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะแสดงค่าความหนักของงานที่สามารถส่งผลกับระดับสมรรถภาพทางกายที่แตกต่างกัน โดยระดับความหนักจากค่าร้อยละ อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดกับร้อยละของอัตราการขนส่งออกซิเจนของกล้ามเนื้อสูงสุด (V O2 max) มีความแตกต่างกันของตัวเลขถึงร้อยละ 5-10 นักกีฬาและผู้ออกกำลังกายจึงควรใช้ค่าของการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพื่อการบ่งชี้การใช้ออกซิเจนของร่างกาย ดังนั้นการวางแผนการฝึกและการออกกำลังกายควรมีการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจแต่ละบุคคลโดยการจดบันทึกทุกวัน เพื่อใช้ประกอบกับการจัดความหนักหรือความเข้มข้นที่เหมาะสมจากการฝึกและการออกกำลังกาย โดยสามารถรักษาระดับความสมบูรณ์ของร่างกายและสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือดให้คงสภาพได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2777
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
34-48.PDF17.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น