กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2512
ชื่อเรื่อง: กระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู : การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thinking process, feeling and behavior of student teachers on teaching profession: Transformative learning
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้
ครู
ความคิดและการคิด
ความรู้สึก
จิตตปัญญาศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปรากฏการณ ์ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาหลัก วิชาชีพครู ศึกษากระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู และกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตชั้นปีที่ 2 เอกการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัย บูรพา ที่ลงทะเบียนรายวิชา 400102 หลักวิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 37 คน เมื่อจบ การเรียนการสอนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ตลอดภาคเรียนแล้ว นิสิตถูกเชิญเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งมีนิสิตจำนวน 37 คน อาสาสมัครยินดีเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน โดยแต่ละคนเป็นผู้ แทนของสมาชิกในแต่ละกลุ่มของการทำงานในการเรียนการสอน ดำเนินการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน และรวบรวมข้อมูลและผลงานต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยสมุดบันทึกการเรียนรู้ แบบประเมินตนเอง เอกสาร และผลงานของนิสิตจากกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน ภาพถ่าย และสมุดบันทึกอนุทินของผู้วิจัย การศึกษาครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ทำดรรชนีและเข้ารหัสข้อมูล ลดทอนข้อมูล และใช้การบรรยายและ ตีความจากข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์คำพูด ผลการวิจัยพบว่า 1. ปรากฏการณที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาหลักวิชาชีพครู มีบรรยากาศการเรียนการสอนและพฤติกรรม เชิงบวก นิสิตประทับใจในกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมมีความเหมาะสมและสามารถเสริมสร้างความคิด ความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพครู เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมอย่างมีความหมาย ท้าทายความสามารถ นิสิตมีความสุข และสนุกกับบทเรียนและได้รับประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่านิสิตได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการคิด และวางแผนใน การเรียน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และเกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยเหลือสังคม 2. นิสิตมีการพัฒนากระบวนการคิดอย่างไตร่ตรอง คิดทบทวนและพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ มีมุมมองที่ดีต่อตนเอง ต่อวิชาชีพครู และต่อสังคม มีการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอยู่ในระดับดีมาก มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าในตนเองและการทำงาน 3. นิสิตมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่อวิชาชีพครูในด้านบวกมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่ครูที่ดี มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการมองสังคม และ มีแนวคิดที่จะเป็นครูที่เสียสละ ทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประเทศชาติ กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p96-109.pdf6.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น