กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2442
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้แป้งมันสำปะหลังเพื่อเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตในสูตรอาหารกุ้งต่อการเจริญเติบโต ความแปรปรวนของขนาด อัตราการแลกเนื้อ ความถี่ในการลอกคราบ อัตราการรอด และดัชนีตับของกุ้งขาววัยรุ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of cassava starch replacement as carbohydrate source in shrimp feed on growth, size variation, feed conversion ratio, molting frequency, survival rate and hepatopancreatic index of Litopenaeus vannamei juvenile
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้ง - - การเจริญเติบโต
กุ้ง - - อาหาร
กุ้งขาว
คาร์โบไฮเดรต
แป้งมันสำปะหลัง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: ผลของการใช้แหล่งคาร์โบไฮเดรตจากแป้งมันสำปะหลังในอาหารทดแทนปลายข้าวและแป้งสาลีที่ระดับ 2.5%, 5.0% และ 7.5% ในสูตรอาหาร และชุดควบคุมที่ไม่มีการใช้แป้งมันสำปะหลังต่อการเจริญเติบโต ความแปรปรวนของขนาด อัตราการแลกเนื้อ ความถี่ของการลอกคราบ ดัชนีตับ และการรอดตายของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ด้วยการใช้กุ้งขาวขนาดความยาวเฉลี่ย 9.3 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 7.0 กรัม ในถังไฟเบอร์กลมความจุ 250 ลิตร ความหนาแน่น 70 ตัวต่อตารางเมตร ทำ 3 ซ้ำ ต่อชุดการทดลอง ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง อัตรา 5% ของน้ำหนักตัว เลี้ยงกุ้งเป็นเวลานาน 2 เดือน ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก ๆ สัปดาห์ ทำการนับจำนวนคราบกุ้งทุกวัน สุ่มชั่งน้ำหนักและวัดความยาวกุ้งขาวทุกๆ 12 วัน จนเลี้ยงครบ 60 วัน สุดท้ายทำการตรวจสอบความยาวและน้ำหนักกุ้งทุกตัวในแต่ละซ้ำการทดลองเพื่อนำมาหาค่าความแปรปรวนของขนาด ผลการทดลองพบว่า % ความยาวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านความยาวของทุกชุดการทดลองและชุดควบคุมไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ส่วนกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีแป้งมันสำปะหลังในสูตรระดับ 2.5%, 5.0% และชุดควบคุมมีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของน้ำหนัก การเจริญเติบโตต่อวัน และ % น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p>0.05) โดยกุ้งทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น มีค่าพารามิเตอร์ดังกล่าวสูงกว่ากุ้งกลุ่มที่ได้อาหารสูตรที่ใช้แป้งมันสำปะหลัง 7.5% ในสูตร (p<0.05) ค่า % ความแปรปรวนของ ขนาดทั้งความยาวและน้ำหนัก อัตราการรอด และความถี่ในการลอกคราบ อัตราการแลกเนื้อ รวมทั้งค่าดัชนีตับของกุ้งทุกกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (p>0.05)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2442
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
29-36.pdf805.25 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น