กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2374
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการย่อยอาหารของปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะวรรณ ศรีวิลาศ
จารุนันท์ ประทุมยศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การย่อยอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการ
ประสิทธิภาพ
ปลาสวยงาม
อาหารสัตว์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (3*5 completely randomized design) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการย่อยอาหารของปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris) ในอาหารสด 5 ชนิด ประกอบด้วย ปลาข้างเหลือง (Caranx leptolepis) หอยลาย (Paphia undulata) กุ้งทะเล (กุ้งขาว, Metapenaeus lysianassa กุ้งปล้อง, Parapenaeopsis hungerfordi)) เคย (Acetes) และอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย (Artemia salina) ให้ปลากินอาหารวันละ 2 ครั้ง เก็บขี้ปลาโดยวิธีกาลักน้ำลงใส่ในภาชนะหลังจากให้ปลากินอาหาร 3 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง อบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นำไปวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหาร ผลการทดลองพบว่าปลาการ์ตูนส้มขาว (A. ocellaris) มีประสิทธิภาพการย่อยอาหารสดและประสิทธิภาพการย่อยสารอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) ปลาการ์ตูนส้มขาว (A. ocellaris) มีประสิทธิภาพการย่อยปลาข้างเหลืองได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพการย่อยอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยได้น้อยที่สุด มีประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน และประสิทธิภาพการย่อยไขมันในปลาข้างเหลืองและหอยลายสูงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) จากอาหารชนิดอื่น โดยมีประสิทธิภาพการย่อยอาหารสดทุกชนิด (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) อยู่ในช่วง 21.28-96.77 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนในอาหารสดทุกชนิด (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) อยู่ในช่วง 87.21-99.52 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพการย่อยไขมันในอาหารสดทุกชนิด (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่าปลาการ์ตูนส้มขาว (A. ocellaris) มีประสิทธิภาพการย่อยปลาข้างเหลืองดีที่สุดและมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอาหารในอาหารสดที่เป็นเนื้อสัตว์ได้ดี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2374
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น