กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2291
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของโมเดลและการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พหุมิติโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแฝงภายใน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency of model and detecting differential multidimentional items functioning by nested confirmatory factor analysis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยยศ ชาวระนอง
ไพรัตน์ วงษ์นาม
สมศักดิ์ ลิลา
สุรีพร อนุศาสนนันท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การวิเคราะห์ตัวประกอบ
การวิเคราะห์พหุระดับ
ข้อสอบ
สถิติวิเคราะห์
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่ง องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งแฝงภายใน องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายใน และการทดสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายใน ภายใต้เงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างขนาด 100, 200, 400, 800, 1,200, 1,600 และ 2,000 คน จำนวนข้อสอบ 3, 5, 8, 10 และ 15 ข้อต่อองค์ประกอบ และขนาดกลุ่มตัวอย่างในการทดสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบขนาด 1,600, 2000, 2,400, 2,800, 3,200, 3,600 และ 4,000 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 2 จากการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 16.0 การหาคุณภาพแบบทดสอบใช้โปรแกรม BILOG MG 3.0 การวิเคราะห์องค์ประกอบใช้โปรแกรม AMOS 16.0 และการทดสอบค่าความเชื่อมั่น G – COEFFICENT ใช้โปรแกรม GENOVA ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายในมีประสิทธิภาพมากที่สุด โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เมื่อไม่มีการปรับโมเดลอยู่ในระดับดี โดยพิจารณาจากค่าดัชนีวัดความสอดคล้องของโมเดล ซึ่งพบว่าค่า=1658.181, df = 1130, p = .000, GFI = .919, AGFI= .909, CFI = .643 และ RMSEA = .024 เมื่อใช้กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 800 ตัวอย่างขึ้นไป และเมื่อพิจารณาตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องไค-สแควร์ ไม่แปรเปลี่ยนตามขนาดกลุ่มตัวอย่างแต่แปรเปลี่ยนตามจำนวนข้อสอบต่อองค์ประกอบ 2. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายในจำแนกตามเพศโดยใช้เทคนิค Multi-Group พบว่ามีข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน 5 ข้อ และเมื่อตัดข้อสอบที่ทำหน้าที่ ต่างกันออกพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของข้อสอบสูงขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2291
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
23-35.pdf4.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น