กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2268
ชื่อเรื่อง: การจัดการในครอบครัวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นหญิง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพนิดา ชัยวิทย์
ศรีวรรณ มีคุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: บิดามารดาและวัยรุ่น
วัยรุ่นหญิง - - พฤติกรรมทางเพศ
วัยรุ่นหญิง
สาขาสังคมวิทยา
เพศสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงคุณภาพแบบชาติพันธุ์วรรณา เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี และเป็นการวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกับการจัดการในครอบครัวรูปแบบต่างๆ กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นหญิงในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นหญิงที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2- ปริญญาตรีอายุระหว่าง 14-18 ปีวิธีการเก็บข้อมูลรวบรวมจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้รู้การสนทนากลุ่มการศึกษาติดตามกรณีตัวอย่างและการศึกษาจากทะเบียนประวัติของนักเรียน-นักศึกษาใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูล 7 เดือนผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งหมด 17 ราย ผลการศึกษาพบว่าการจัดการในครอบครัวของวัยรุ่นหญิงมี 3 รูปแบบคือ 1) การจัดการในครอบครัวแบบตามใจ 2) การจัดการในครอบครัวแบบละเลยทอดทิ้ง 3) การจัดการในครอบครัวแบบบงการเข้มงวด ลักษณะการจัดการในครอบครัวที่พบมากที่สุด คือ การจัดการแบบตามใจ และลักษณะรูปแบบของครอบครัวที่พบ คือ ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย ครอบครัวพ่อ-แม่เลี้ยงเดี่ยว และครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นเพศเดียวกัน (ครอบครัวเลสเบี้ยน) โดยครอบครัวพ่อ-แม่เลี้ยงเดี่ยว พบมากที่สุดส่วนพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นหญิง ผลการวิจัยพบว่ามีทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับต่างเพศ รักร่วมเพศ การมีกิ๊ก การอยู่ก่อนแต่ง โดยจำนวนผู้ให้ข้อมูลที่มีเพศสัมพันธ์กับต่างเพศและรักร่วมเพศ ใกล้เคียงกัน คือ วัยรุ่นหญิงมีเพศสัมพันธ์กับต่างเพศร้อยละ 52.94 และ รักร่วมเพศร้อยละ 47.06 ส่วนพฤติกรรม การมี “กิ๊ก” วัยรุ่นหญิงทุกคนมีกิ๊กไม่ต่ำกว่า 2 คน อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกต่ำสุด 13 ปี ช้าสุด 16 ปี อายุเฉลี่ย 14.30 ปี โดยวัยรุ่นหญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับคนรัก ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน เหตุผลคือ เป็นการมีความสัมพันธ์กับคนรัก ความเชื่อใจคนรัก ไม่คิดว่าจะมีโรคติดต่อ การมีเพศสัมพันธ์เป็นการแสดงออกถึงความรัก เหตุผลที่ยินยอมมีเพศสัมพันธ์ เพราะ ความรักความใกล้ชิด ต้องการความรักความอบอุ่น ที่ขาดหายไปจากครอบครัวและต้องการตามใจคนรัก การศึกษาวิจัยได้อธิบายถึงทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งวัยรุ่นหญิงเชื่อว่าเป็นผลต่อเนื่องจากความรัก เป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย ไม่คาดคิดถึงการแต่งงาน ผลการวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นหญิงที่จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษา ภาครัฐ และองค์กรเอกชนทุกส่วนของสังคมควรตระหนักร่วมกัน โดยให้ความรู้ด้านเพศศึกษา การคบเพื่อน การรู้จักคุณค่าในตนเอง โดยเฉพาะการจัดการในครอบครัวด้วยความรักความเข้าใจการสื่อสารเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในครอบครัว จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยในวัยเรียน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2268
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p139-158.pdf20.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น