กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2261
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of an information and communication technology ethic test for students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
สุชาติ ใจสถาน
ไพรัตน์ วงษ์นาม
อิทธิฤทธิ์ พงษ์ปิยะรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: จริยธรรม
แบบสอบถาม - - ความเที่ยง
เทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบสอบถาม - - ความตรง
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสวารสำหรับนักเรียน ตรวจสอบคุณภาพและสร้างปกติวิสัยของแบบวัดจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (มันธยมศึกษาปีที่ 1-3) ปีการศึกษา 2552 ของโณงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 3,82 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน แบบวัดจริยธรรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงข้อมูล ตรวจสอบคุณภาพ ด้วยการตรวจสอบความตรง (Validity) ได้แก่ ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม (Different Item Functioning: DIF) ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ตรวจสอบอำนาจจำแนก ตามโมเดล GRM (Graded Response Model) และตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (G-Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น มีจำนวนข้อคำถาม 37 ข้อ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัว 11 ข้อ ความถูกต้อง 11 ข้อ ความเป็นเจ้าของ 7 ข้อ และการเข้าถึงข้อมูล 8 ข้อ 2) คุณภาพของแบบวัดจริยธรรมที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพด้านความตรงคือ ความตรงเชิงเนื้อหา มีค่ามัธยฐานระหว่าง 4.00 ถึง 5.00 พิสัยระหว่างควอไทล์ มีค่าระหว่าง0.00-1.00 และดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม มีค่าระหว่าง -0.053 ถึง 0.154 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลองค์ประกอบของจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ข้อคำถามทั้ง 37 ข้อมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พารามิเตอร์อำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.31 ถึง 4.08 สัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (G-Coefficient) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.928 เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบได้แก่ ความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงข้อมูล มีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเท่ากับ 0.825, 0.812, 0.784 และ 0.830 ตามลำดับ 3) ปกติวิสัยของแบบวัดจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดทำเป็น 3 ระดับได้แก่ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับสูง มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ระหว่าง 78.0-100.0 (สเตไรร์ที่ 7-9) ระดับปานกลาง มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ ระหว่าง 24.0-77.9 (สเตไนน์ที่ 4-6) และนักเรียนที่มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับควรได้รับการแก้ไขมีตำแหน่งเปอร์เซนไทลล์ระหว่าง 0-23.9 (สเตไนน์ที่ 1-3)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2261
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
KC4908013.pdf184.22 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น