กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2240
ชื่อเรื่อง: เสรีภาพสื่อมวลชนไทย : ปัญหาท้าทายของสื่อในรัฐบาลทุนนิยม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา บูรณเดชาชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: เสรีภาพทางข่าวสาร
สื่อมวลชน
หนังสือพิมพ์
เสรีภาพของหนังสือพิมพ์
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: เสรีภาพนับเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของสื่อมวลชนซึ่งเสรีภาพของสื่อมวลชนนั้น หมายความรวมถึงเสรีภาพในด้านข่างสารเสรีภาพในการพิมพ์เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์และเสรีภาพในการจำหน่ายจ่ายแจกนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศล้วนแต่มีการต่อสู้เพื่อมาตลอดในรัฐบาลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ผ่านมากล่าวกันว่าเป็นยุคที่มีการผสมผสานกันระหว่างอำนาจรัฐกับทุนนิยมนั้น ส่งผลถึงวิวัฒนาการการแทรกแซง ลิดรอน และจำกัดเสรีภาพสื่อ จากอดีตที่กระทำอย่างเปิดเผย ผ่านการใช้อำนาจของรัฐ และตัวบทกฎหมายมาสู่รูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นด้วยการใช้กฎหมายที่ล้าสมัยและไม่พัฒนากฎหมายใหม่ การแทรกแซงกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หรือองค์กรสถานีโทรทัศน์และผ่านการซื้อหรือยึดครององค์กรสื่อส่งผลให้เสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในรัฐบาลยุคนั้นจากการมองขององค์กรต่างประเทศและจากสายตาประชนไทยลดลงอย่างมากโยเฉพาะมูลเหตุจากการแทรกแซงสื่อโดยผู้มีอำนาจรัฐระดับสูง (ส่วนใหญ่มาจากชนชั้นนายทุน) ลายทุนซึ่งเข้ามาแทรกแซงสื่อของรัฐและนายทุนกลายเป็นภัยเงียบที่หน้าอันตรายต่อสังคม เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนผู้ที่ได้รับการศึกษาน้อยซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอาจไม่รู้ไม่เห็นและไม่สามารถลุกขึ้นมาต่อต้านได้เช่นการแทรกแซงครอบงำอย่างในอดีต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ได้มีบทบัญญัติเรื่องเสรีภาพสื่อมวลชนในหลายมาตราโดยเฉพาะมาตรา 39 และมาตร 41 รวมถึงมาตรา 58 และมาตรา 59 ที่มีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของข้าราชาร พ.ศ.2540 เป็นกฎหมายลูกรองรับแต่ในทางปฏิบัติแล้วมาตราต่างๆที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งมาตรา 39 และ 41 ยังไม่เป็นจริง การโยกย้ายปลดพนักงานทั้งในองค์กรสื่อของรัฐและเอกชนเป็นเหตุการณ์ที่มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้แสดงถึงภาวการณ์ถูกแทรกแซงของสื่อจากหลายฝ่ายในขณะที่การดำเนินการต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับยังไม่ก้าวหน้าเด่นชัด แม้ว่าสื่อมวลชนจะตกอยู่มนสถานการณ์ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่ท้าทายของสื่ออย่างยิ่งแต่สื่อก็ยังไม่ละโอกาสที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของสื่อตามหลักปรัชญาวิชาชีพเพื่อเป็นสถาบันหลักทางด้านสื่อมวลชนในด้านการป้องกันคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสนอข่าวสารของประชาชนและสื่อมวลชน เพราะในสภาวะที่สภานะการณ์ทางบ้านเมืองยังไม่เข้าสู่สภาวะปกติ บทบาทของสื่อมวลชนรวมทั้งองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนยอมมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้ประเทศเป็นไปในทิศทางที่ทุกฝ่ายพึ่งปรารถนา During the period of absolute monarchy, Thai newspaper had a lot of freedom of the press. They used over freedom to violate people’s human right. After the newspaper have become under the democratic government, their freedom of the press is limited by publishing laws. Now the newspapers have freedom in information, publishing, criticism, and distribution according to the constitution of the kingdom of Thailand in 1997. There are a lot of problems in using freedom of the press. The owners, The journalists, the readers, the businessmen, the politicians and the publishing laws cause pressure and this makes news presentation come out with not all sides. And there is no neutrality. Besides having freedom of the press for the convenience of doing the work, newspapers should also have ethics or professional morals to make good image and be truly dependable for the people.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2240
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p21-38.pdf24.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น