กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2228
ชื่อเรื่อง: ผู้เรียนผู้ใหญ่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินดา ม่วงมี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษา
การเรียนรู้
การเรียนรู้ของผู้ใหญ่
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2548
บทคัดย่อ: บทความนี้เน้นให้เกิดความเข้าใจ และตระหนักในผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ผู้ใหญ่ว่าผู้ใหญ่เป็นวัยแห่งการมีวุฒิภาวะเพราะมี ประสบการณ์ชีวิตและนำประสบการณ์ชีวิตเชื่อมโยงกับความรู้และข้อมูลใหม่เพื่อแก้ปัญหา เป็นเช่นนี้ตลอดชีวิตผู้เรียนผู้ใหญ่จึงมีความแตกต่างกันตามอายุที่เพิ่มขึ้น ผู้สอนรู้เรียนผู้ใหญ่ ควรตระหนักถึงคุณลักษณะของผู้เรียนผู้ใหญ่ ให้สามารถสร้างแรงจูงใจ ให้แรงเสริม ส่งเสริม ความจำและการถ่ายทอดสาระความรู้ และทักษะอย่างเหมาะสมกับลักษณะของผู้ใหญ่ เพ่อให้เรียนอย่างมีความสุขและสนุกกับการเรียนอย่างสร้างสรรค์ ผู้ใหญ่ คือ บุคคล หรือ ประชาชนที่มี ประสบการณ์หลากหลาย และมากด้วยข้อมูลขณะเดียวกัน มีความพร้อมทางสรีรวิทยาที่สามารถเพิ่มผลผลิต และขยายเผ่าพันธุ์ได้มากไปกว่านี้ สังคมยังคาดหวังให้เป็นผู้นำและแบบอย่างของเยาวชนอีกด้วย ผู้ใหญ่ในสังคมไทยปัจจุบันมีโอกาสและ ได้รับการส่งเสริมทางการศึกษามากขึ้น จะเห็นได้จาก วัตถุประสงค์หลัก 3 ประการของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติปีพุทธศักราช 2542 อันได้แก่ 1) ระบบการศึกษาเน้นตลอดชีวิต กล่าวคือ จัดการศึกษาโดยยึดหลักการจัดเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมและให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง 2) ระบบบริหารการจัดการมุ่งที่คุณภาพ และ 3) การส่งเสริมทางการศึกษากับทุกส่วนของสังคม นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปีพุทธศักราช 2542 ถือเป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาฉบับแรกในประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ๖ธรรมเกียรติ กันอริ, 2544 หน้า 15) ในสังคมไทยมีโรงเรียน รวมทั้งวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนจำนวนมากที่บริการให้การศึกษากับกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ด้วยบรรยากาศของความหวาดกลัวการใช้อำนาจการบังคับ การเปรียบเทียบ การไม่เป็นมิตร การไม่เคารพในคุณค่ามนุษย์ ฯลฯ ทำให้ผู้เรียนจำนวนมากถูกกดดัน ขาดที่พึ่ง เกิดความสับสนทางจิตใจ ฯลฯ พฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลต่อบุคคลด้านทัศนคติที่ผิด ๆ และอาจนำมาสู่การกระทำที่เป็นภัยต่อกระบวนการพัฒนาทางความคิด ในเชิงสร้างสรรค์ต่อตนเอง ชุมชน และประเทศชาติ ในที่สุด แฟร์ (Freire, 1978) ตำหนิ วิธีการให้การศึกษาดังกล่าวว่า เป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนเฉื่อยชา คิดไม่เป็น ช่วยตัวเองไม่ได้ คิดแต่จะพึ่งครูหรือพึ่งสังคม และที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นการทำลายความคิดสร้างสรรค์ที่มีค่ายิ่งของมนุษย์ และในที่สุดก็อาจเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดบุคลิกภาพที่มีวุฒิภาวะ (Mature personality) กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (So-cialization) ของทุกสังคมล้วนมุ่งพัฒนาเด็กและเยาวชนของตน ให้เป็นผู้ใหญ่ที่เพียบพร้อมในทุก ๆ ๆ ด้าน ในทางจิตวิทยาจึงมักเรียกวัยผู้ใหญ่ “วัยแห่งวุฒิภาวะ” (Mature Age)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2228
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p25-32.pdf6.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น