กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1991
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of biosurfactant producing bacteria for application of petroleum indistry and bioremediation of petroleum materials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงษ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ
อุตสาหกรรมปิโตรเลียม
แบคทีเรีย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการฟื้นฟูสภาพที่ปนเปื้อนด้วยสารกลุ่มปิโตรเคมี ในปีที่ 1 ได้ทำการศึกษาถึงการคัดกรองแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและสารอิมัลซิฟายเออร์ชีวภาพที่คัดแยกได้จากตัวอย่างดิน จากการศึกษาพบว่ามีแบคทีเรีย จำนวน 30 ไอโซเลท ได้แก่ 14 ไอโซเลท จากตัวอย่างดินในจังหวัดน่านที่มีการปนเปื้อนด้วยน้ำมันน้อย (SD1, SD2, SD3, SD4, SD5, SD6, SP1, SP2, SP3, SP4, SP5, SP6, SP7 และ SP8) และ 16 ไอโซเลท จากตัวอย่างดินจังหวัดชลบุรีที่ปนเปื้อนด้วยน้ำมัน (SA1, SA2, SA3, SO1, SO2, SO3, SJ1#1, SJ1#2, SJ2#1, SJ2#2, SJ2#3, SN1, SN2, SE1, SE2 และ SE3) ต่อมาทำการคัดกรองแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและสารอิมัลซิฟายเออร์ชีวภาพที่ตรวจสอบด้วยวิธีการทดสอบการย่อยสลายเม็ดเลือดแดง, Drop collapsing test, Oil displacement test, Tilting glass slide test และ Emulsification capacity (E24) testสามารถสรุปได้ว่า แบคทีเรียสายพันธุ์ SE1, SP1, SD4, SD5 และ SJ1#1 น่าจะมีความสามารถในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและสารอิมัลซิฟายเออร์ที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นสารกลุ่มไลโปเปปไทด์ ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาความสามารถในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและอิมัลซิฟายเออร์ชีวภาพ เชิงลึกและการประยุกต์ใช้ในด้านการบำบัดการปนเปื้อนของน้ำมันในสิ่งแวดล้อมต่อไป Research entitted "Development of biosurfactant producing bacteria for apptication of petroteum industry and bioremediation of petroteum materiats" in the first year was designed to screen the biosurfactant and bioemutsifier producingbacteria isolated from soil samp[es. The resutts showed that twenty six bacterial strains were isotated. Among these isotates, fourteen bacterial strains were isolatedfrom less oiLcontaminated Nan Province soil samptes (SD1, SD2, SD3, SD4, SD5, SD6, SP1, SP2, SP3, SP4, SP5, SP6, SP7 ttas SP8) and sixteen bacteriat strains were isotated from contaminated Chonburi Province soil samptes (SA1, SA2, SA3, SO1, SO2, SO3, SJ1#1, 9t#2, ,2#1, SJ2#2, ,2#3, SN1, SN2, SE1, SE2 uas SE3). The biosurfactant and bioemulsifier producing abi[ities of those bacteria were investigated by hemotysis test, drop co[tapsing test, oit disptacement test, titting gtass stide test and emulsification capacity (Ezi tests. SE1, SP1, SD4, SD5 and SJ1#1 strains showed the best performance for biosurfactant and bioemutsifier production, which were categorized as [ipopeptide biosurfactant. Therefore, this shoul.d be thoroughty investigated in abil.ity of biosurfactant and bioemulsifier production for bioremediation and their applications in oiI contaminated environment.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1991
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2564_245.pdf54.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น