กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1922
ชื่อเรื่อง: โครงการผลของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียว, Synchiropus splendidus, Herre, 1927 ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต: การยอมรับอาหารและการสืบพันธุ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of feeding mandarinfish, Synchiropus splendidus, Herre, 1927 broodstocks with artificial diets as a replacement for live feeds with emphasis on the acceptablity and its impacts on the reproductive capability
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุนันท์ ประทุมยศ
สุพรรณี ลีโทชวลิต
ณิษา สิรนนท์ธนา
ศิริวรรณ ชูศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การสืบพันธุ์
การเพาะเลี้ยง
ปลาแมนดารินเขียว
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เดือนในธรรมชาติปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus) กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่แพลงก์ตอนสัตว์เหล่านี้เพาะเลี้ยงยากในที่กักขัง อาร์ทีเมียแต่ ทำได้ง่าย เจริญเติบโตเร็วซึ่งเป็นอาหารทางเลือกในการเลี้ยงปลาแมนดารินเขียวแต่ขนาดและปริมาณอาร์ทีเมียที่ให้ปลาแมนดารินเขียวกินและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ต้องทำการศึกษา นอกจากนี้ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวด้วยอาหารเม็ดทดแทนการใช้อาหารมีชีวิตยังไม่มีรายงานการวิจัย ในการวิจัยนี้มีการทดลอง 2 การทดลองในการทดลองปีที่ 1 ศึกษาผลของขนาดและความหนาแน่นของอารืทีเมียต่อผลผลิตไข่ของปลาแมนดารินเขียว Synchiropus splendidus, Herre, 1927 (F1) ในการทดลองปีที่ 2 ศึกษาผลของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวด้วยอาหารมีชีวิตและอาหารสำเร็จรูปต่อการสืบพันธุ์และผลผลิตไข่ของปลาแมนดารินเขียว (F1) นอกจากนี้ ยังทำการศึกษาพัธนาการอวัยวะสืบพันธุ์ปลาแมนดารินเขียวระยะวัยรุ่นจนกระทั้งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ในการทดลองปีที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ 4x3 การทดลองแบบสุ่มตลอด ชุดการทดลองประกอบด้วย ชุดการทดลองที่ 1 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 2 ให้กินอาร์ทีเมียแรกเกิด .05 ตัว/มิลลิลิคร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียแรกเกิด .05 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ลิตร/ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟัก .05 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 4 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 1 ตัว/ลิตร/ ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟักจำนวน .05 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง อารืทีเมียตัวเต็มวัยที่เตรียมไว้ในการทดลองเลี้ยงด้วยสไปรูไลนาอบแห้งเป็นอาหารตลอดเวลา ก่อนที่จะนำไปอาร์ทีเมียไปใช้ทดลองทำการเสริมอาหารในอาร์ทีเมียด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกัน 2 ชนิด เป็นระยะเวลาประมาณ 1-3 ซม. ระหว่างเตตราเซลมิส (Tetraselmis gracilis) และไอโซไคลซิส (Isochrysis glabana) หรือระหว่างเตตราเซลมิส (T. gracilis) และนาโนโครลอปซิส (Nanochrolopsis oculata) เริ่มต้นการทดลองเมื่อปลามีอายุ 14 เดือน ทดลองในตู้กระจกขนาด 45x120x50 เซนติเมตรบรรจุน้ำ 270 ลิตร ตู้ทดลองแบ่ง 2 ส่วนคือส่วนเลี้ยงปลา (180 ลิตร) และส่วนเก็บไข่ (90 ลิตร) ให้อาหารปลาแมนดารินเขียว 2 ครั้ง/วัน หลังจากทดลองเป็นระยะเวลา 9 เดือน (ปลาแมนดารินเขียวอายุ 2 ปี) พบว่าในทุกชุดการทดลองปลาเพศเดียวกันมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่ปลาเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ปลาแมนดารินเขียวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยจำนวน 1 คู่ ที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ ลิตร/ ครั้ง เริ่มผสมพันธุ์และให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 1 ปี 7 เดือน (ก่อนชั่งวัดขนาดปลาสิ้นสุดการทดลอง 3 เดือน) จึงคาดว่าปลาแมนดารินเขียวเพศผู้ที่เลี้ยงในที่กักขังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มีน้ำหนัก 3.70 กรัม ความยาวลำตัว 5.54 เซนติเมตรและเพศเมีย มีน้ำหนัก 3 กรัม ความยาวลำตัว 5.39 เซนติมเตร ปลาแมนดารินเขียวคู่นี้ผสมพันธุ์ออกไข่ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน จำนวน 10 ครั้ง ไข่ปลามีปริมาณ 48-253 ฟอง (ขนาดเฉลี่ย 0.78+- 0.02 มม) จำนวนไข่ที่ได้รับการผสมพัฒนาและเป็นตัวอ่อนเพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งการออกไข่แสดงว่าการเสริมสารอาหารในอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกันและให้แลาแมนดารินเขียว (F1) อายุ 14 เดือน กินอัตราอย่างน้อย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง จำนวน 2 ครั้งต่อวันเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน มีสารอาหารพอเพียงในการเลี้ยงปลา S. splendidus ในที่กักขังและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ ลูกปลาแมนดารินเขียวแรกเกิดเป็นระย pro-larvae ซึ่งมีลำตัวใสและมีถุงไข่แดงขนาดใหญ่ปากและสีของตายังไม่พัฒนาและมีระบบทางเดินอาหารเป็นเส้นตรง จากผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในอาร์ทีเมียทดลองพบว่า อาร์ทีเมียแรกฟักมีโปรตีนและไขมันสูงกว่าอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย อาร์ทีเมียตัวเต้มวัยกินแพลงตอนก์พืชผสม T. gracilis แล N. oculata มีโปรตีนสูงกว่าอาร์ทีเมียกิน T.gracilis และ l. galbana แต่อาร์ทีเมียเหล่านี้มีไขมันไม่แตกต่างกัน อาร์ทีเมียทดลองทั้งสองขนาดมีกรดไขมันที่จำเป็นขนาดโซ่ยาว eicosapentaenoic acid 3% แต่ไม่มีกรดไขมัน docosahexaenoic acid อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยที่กินแพลงก์ตอนพืชผสมมี arachidonic acid 1% ในการทดลองปีที่ 2 ชุดการทดลองประกอบด้วย ชุดทดลองที่ 1 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง (ชุดควบคุม) ชุดทดลองที่ 2 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ ลิตร/ ครั้ง ชุดทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 4 ตัว/ ลิตร/ ครั้ง ชุดทดลองที่ 4 ให้กินอาหารเม็ดชนดจมน้ำ (5-10% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้นทดลอง) การเตรียมอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยใช้ในการทดลอง ใช้วิธีการเดียวกับการทดลองปีที่ 1 แต่เพิ่มระยะเวลาในการเสริมสารอาหารด้วยแพลงก์ตอนพืชสองชนิดเป็นเวลาประมาณ 18-24 ชั่วโมง เริ่มต้นการทดลองเมื่อปลามีอายุ 15 เดือน ผลการทดลองพบว่า ปลาแมนดารินเขียวเพศเมีย 1 ตัวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ ลิตร/ครั้ง ให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 1 ปี 7 เดือน (19 เดือน) และปลาแมนดารินเขียว 2 ตัวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 4 ตัว/ลิตร/ครั้ง ให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) และอายุ 2 ปี 5 เดือน (29 เดือน) ปลาแมนดารินเขียวกินอาร์ทีเมียทั้งสองระดับให้ผลผลิตไข่ใน 3 ครั้งแรกของการออกไข่ประมาณ 24-46 ฟอง เมื่อปลามีขนาดและอายุเพิ่มขึ้น จำนวนไข่ปลามีปริมาณไม่คงที่แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (263 ฟอง) แต่ปลาแมนดารินเขียวที่กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปและกินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ลิตร/ครั้งไม่มีพฤติกรรมการออกไข่ นอกจากนี้ในระหว่างการทดลองอากาศเปลี่ยนแปลงและอุณหภูมิลดลงกระทันหันในเดือนพฤศจิกายน 2558 และเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ทำให้ปลาทดลองตายจำนวนมากโดยเฉพาะปลาเพศผู้ ปลาเพศเมียที่ออกไข่แล้วและเหลือตัวเดียวในตู้มีพฤติกรรมออกไข่ต่อไปแสดงว่าปลาแมนดารินเขียว เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ปล่อยไข่ได้โดยไม่ต้องมีปลาเพศผู้กระตุ้นการออกไข่ จากการศึกษาพัฒนาการอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียวด้วยเทคนิคเนื้อเยื่อวิทยาพบว่า ปลาแมนดารินเขียวอายุ 12 เดือนขึ้นไปมีการสร้างไข่ (oogenesis) และสเปริม์ (spermatogenesis) โดย oocytes ที่พบมีหลายระยะจึงสอดคล้องกับผลการทดลองที่พบว่าปลาแมนดารินเขียวมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ออกไข่หลายครั้ง (multiple spawning) และปริมาณไข่ที่ปล่อยออกมาแต่ละครั้งมีจำนวนไม่คงที่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1922
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2560_075.pdf5.98 MBAdobe PDFดู/เปิด
2564_172.pdf4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น