กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1865
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กและผงหินปูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chloride resistance of concrete containing ground-granulated blast furnace slag and limestone power
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คลอไรด์
ผงหินปูน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่ง และกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กบด เถ้าลอย และผงหินปูน โดยแบ่งเป็นคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิดและคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสามชนิด โดยคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิด ได้แก่ คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสาน ร้อยละ 30 40 50 และ 70 คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 ส่วนคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสามชนิด ได้แก่ คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5 10 และ 15 และคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 30 และ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5 และ 10 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ 0.50 ทำการทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งของคอนกรีตที่อายุ 28 และ 56 วัน และทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า สำหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิด ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบทดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 70 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำสุด แต่ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 50 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาคอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานและคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสาน ที่การแทนที่วัสดุประสานเท่ากัน พบว่า คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแทนที่วัสดุประสานมีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำกว่า สำหรับคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสามชนิด พบว่า คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5-15 มีการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งต่ำที่สุด ทั้งที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ 0.50 สุดท้ายเมื่อพิจารณาระหว่างการแทรกซึมคลอไรด์แบบเร่งและกำลังอัด พบว่า ทั้งคอนกรีตที่ใช้วัสดุประสานสองชนิดและสามชนิดมีกำลังอัดสูงและมีการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำกว่าคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน คอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประสานร้อยละ 50 มีกำลังอัดสูง แต่มีการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำ ส่วนคอนกรีตที่ใช้ตะกรันเตาถลุงเหล็กบดแทนที่วัสดุประานร้อยละ 50 ร่วมกับผงหินปูนแทนที่ร้อยละ 5 และ 15 มีการแทรกซึมคลอไรด์ต่ำแต่ก็มีกำลังอัดต่ำด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1865
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_003.pdf2.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น