กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1863
ชื่อเรื่อง: การลดต้นทุนผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยการประยุกต์แนวคิดการบริหารฐานกิจกรรม กรณีศึกษาหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิสราภรณ์ ทนุผล
กมลวรรณ รอดหริ่ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว
การบริหารฐานกิจกรรม
การลดต้นทุน
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยการประยุกต์แนวคิดการบริหารฐานกิจกรรมของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุ 1) ต้นทุนกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจ 2) ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการการท่องเที่ยว 3) แนวทางและวิธีการลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และ 4) โอกาสในการเพิ่มผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2558 อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ประธานโครงการ และสมาชิกโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC และวิธีการสังเกตการณ์ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ การวิจัยมีข้อสรุปเป็นประเด็นดังนี้ 1) ต้นทุนกิจกรรมในการดำเนินธุกิจ พบว่า ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์บริการท่องเที่ยวที่สูงสุด ได้แก่ "ต้นทุนของกิจกรรมพาหนะ" ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์บริการที่พักโฮมสเตย์ ได้แก่ "ต้นทุนของกิจกรรมจัดเตรียมห้องพักก่อนพักแรม" และ "ต้นทุนการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ก่อนการพัก" สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปประจำวันประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบหลักร้อยละ 40 และต้นทุนกิจกรรมผลิตอื่นร้อยละ 60 ซึ่งกิจกรรมที่มีต้นทุนกิจกรรมที่สูงสุด ได้แก่ ต้นทุนกิจกรรมการแล่และตัดชิ้นส่วนและกิจกรรมประกอบอาหารในสัดส่วนที่สูงสุด 2) ต้นทุนสินค้าและบริการการท่องเที่ยว โดยต้นทุนการบริการท่องเที่ยวต่อปีเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ต้นทุนบริการที่พักโฮมสเตย์ ต้นทุนบริการท่องเที่ยวเรือประมง ต้นทุนบริการท่องเที่ยวท้องถิ่นด้านไม่ติดฝั่งทะเล ต้นทุนบริการท่องเที่ยวเรือเล็กชายฝั่ง และต้นทุนบริการท่องเที่ยวท้องถิ่นด้านติดฝั่งทะเล สำรับต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปประจำวันเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ อาหารสาเร็จรูปประจาวัน-อื่น กะปิ ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว อาหารสำเร็จรูปประจำวัน-ปลาต้มเค็ม และน้าปลา 3) แนวทางและวิธีการลดต้นทุนสินค้าและบริการการท่องเที่ยว ได้แก่ 3.1) การลดต้นทุนกิจกรรมพาหนะและมัคคุเทศน์โดยการใช้พาหนะของสมาชิกในชุมชนที่สามารถเป็นมัคคุเทศน์ได้ 3.2) ลดต้นทุนการลงทุนในสินทรัพย์ในกิจกรรมจัดเตรียมห้องพักและกิจกรรมจัดหาวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการอำนวยความสะดวก 3.3) ลดต้นทุนจำนวนรอบการนำวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตอาหารทะเลแปรรูปและอาหารสาเร็จรูปโดยรอให้วัตถุดิบหลักที่รับซื้อมามีปริมาณเพียงพอต่อการนำเข้ากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนกิจกรรมแล่และตัดชิ้นส่วน 3.4) ลดต้นทุนการประกอบอาหารโดยกำหนดรายการอาหารที่มีการใช้วัตถุดิบที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะลแปรรูปที่มีไว้ขายหรือเศษวัตถุดิบจากการผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูปและลดความหลากหลายของอาหารสาเร็จรูปประจำวันเพื่อลดต้นทุนกิจกรรมการใช้เชื้อเพลิง 4) โอกาสในการเพิ่มผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างต่อเนื่องโดยสามารถกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปกำหนดค่าเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจชุมชนบ้านตลาดล่างให้มีการใช้ต้นทุนอย่างมึประสิทธิภาพได้ดังนี้ 4.1) เพิ่มอัตราส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจริงต่อจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดที่รับได้ในแต่ละครั้ง 4.2) เพิ่มอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินการตามรายผลิตภัณฑ์ต่อมูลค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ดำเนินงานในปี 4.3) ลดอัตราส่วนจำนวนเศษซากวัตถุดิบต่อจำนวนวัตถุดิบใช้ไป 4.4) เพิ่มอัตราส่วนจำนวนวัตถุดิบที่รับซื้อจากชาวประมงในชุมชนต่อวัตถุดิบทั้งหมดที่จัดซื้อโดยการรับซื้อวัตถุดิบจากชาวประมงในชุมชนจะมีราคาวัตถุดิบต่ำกว่าในท้องตลาด 4.5) ลดความหลากหลายของอาหารสำเร็จรูปเพื่อลดอัตราส่วนจำนวนวัตถุดิบอื่นที่จัดชื้อเพิ่มต่อจำนวนวัตถุดิบที่ผลิตได้เอง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1863
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_006.pdf3.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น