กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1858
ชื่อเรื่อง: ความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าลอย ผงหินปูนและสารขยายตัว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chloride resistance of mortar containing fly ash, limestone powder and expansive agent
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คลอไรด์
ผงหินปูน
เถ้าลอย
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของมอร์ต้าที่ผสมเถ้าลอย ผงกินปูน และขยายตัว โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 เป็นวัสดุประสานหลัก ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.30 0.40 และ 0.50 และอัตราส่วนแทนที่วัสดุประสานด้วยสารปอซโซลานต่าง ๆ ส่วนผสมของมอร์ต้ามีทั้งระบบวัสดุประสานสองชนิดและระบบวัสดุประสานสามชนิด นำตัวอย่างมอร์ต้าร์ไปเผชิญสารละลายเกลือคลอไรด์ความเข้มข้น 3.0% เป็ระยะเวลา 35 9 และ 182 วัน แล้วทดสอบหาการแทรกซึมคลอไรด์ของมอร์ต้าร์ โดยทดสอบทั้งปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดและปริมาณคลอไรด์อิสระ จากผลการทดลองพบว่า มอร์ต้าที่ผสมเถ้าลอย ร้อยละ 30 มีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ดีกว่ามอร์ต้าที่ผสมผงหินปูน มอร์ต้าร์ที่ผสมสารขยายตัวและมอร์ต้าซีเมนต์ล้วนเนื่องจากผลของปฏิกิริยาปอซโซลานิกของเถ้าลอย มอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าลอยแลผงหินปูนมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ดีกว่ามอร์ต้าร์ซีเมนต์ล้วนอย่างเห็นได้ชัดเมื่ออัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูงขึ้นเนื่องจากผลของปฏิกิริยาปอซโซลานิกของเถ้าลอยและการเติมเต็มช่องว่างในมอร์ต้าร์ของผงหินปูน มอร์ต้าร์ที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานหลักมีความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ดีกว่ามอร์ต้าร์ที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 เป็นวัสดุประสาน มอร์ต้าที่ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานสูงขึ้นและระยะเวลาเผชิญเกลือคลอไรด์นานขึ้นมีการแทรกซึมคลอไรด์สูงขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1858
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_011.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น