กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1831
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงสรีระเคมีของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ที่ขนาดต่าง ๆ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Physicochemical changes of white shrimp (Litopenaeus vannamei) at different sizes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเคมีของกุ้งขาวตามขนาดเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทดลองนี้จึงได้นำกุ้งขาวจากบ่อเลี้ยง 5 ขนาด (6, 12,18, 24 และ 30 กรัม) มาทำการปรับสภาพในน้ำความเค็ม 25 psu ในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 500 ลิตร ที่ความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหารสำเร็จรูปกุ้งขาวระดับโปรตีนอย่างน้อย 35% ปริมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง ทำการทดลอง 3 ซ้ำ เมื่อปรับสภาพกุ้งครบ 2 สัปดาห์ จึงคัดกุ้งระยะลอกคราบ D0 ของกุ้งขาวทั้ง 5 ขนาดในแต่ละซ้า มาเก็บเลือด ตับ และตับอ่อน และเปลือกเพื่อมาวัดปริมาณของแร่ธาตุ 9 ชนิด ได้แก่ Na, K, Ca, Mg, Mn, Cu, Cl, P และ S ด้วยเครื่อง X-ray fluorescent spectrophotometer ED2000 จากการทดลองพบว่าความเข้มข้นของ Na, K, Mg, Ca, Cu และ P ในพลาสมา ตับและตับอ่อน S ในพลาสมา และ P ในเปลือกของกุ้งขาวขนาดเล็ก (6 กรัม) มีความเข้มข้นสูงที่สุด (p<0.05) ความเข้มข้นของชนิดแร่ธาตุที่นอกเหนือจากข้างต้นทั้ง 3 อวัยวะมีค่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ชี้ชัดได้ว่ากุ้งขนาดเล็กมีความพร้อมสูงกว่ากุ้งขนาดใหญ่กว่า ทั้งด้านพลังงาน การควบคุมสมดุลเกลือแร่ กระบวนการลอกคราบ การสร้างเปลือกเพื่อสนับสนุนอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่ากุ้งขนาดใหญ่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1831
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2564_123.pdf705.49 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น