กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1797
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior and expectation of information technology use of students at faculty of humanities and social sciences, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ความควาดหวัง
พฤติกรรมการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศละความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 โดยใช้โปรแกรม Mplus ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิตมีวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด คือ การติดต่อสื่อสารออนไลน์ ปริมาณการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดคือการติดต่อสื่อสารออนไลน์ ปริมาณ สถานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด นอกจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของตนเองคือ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะฯ การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดคือ การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล และความพึงพอใจต่อการให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะฯ มากที่สุดคือ ความพึงพอใจต่อระบบไวไฟ (WIFI) ที่ให้บริการ 2) องค์ประกอบเชิงสำรวจความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถจัดเข้าองค์ประกอบได้ 6 องค์ประกอบ จากตัวแปรคัดสรร 18 ตัวแปร ได้แก่องค์ประกอบ 1) การสืบค้นข้อมูล 2) โปรแกรมสำหรับการนำเสนอผลงาน 3) สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้อินเทอร์เน็ต 4) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล 5) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ และ 6) สื่อมัลติมีเดียด้านสุขภาพ มีความตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงสอดคล้องกับเกณฑ์ทางสถิติอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าสถิติ ค่า MSA เท่ากับ 0.824 ผลการทดสอบด้วย Bartlett’s Test of Sphericity เท่ากับ 4051.231 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α = 0.000 ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ค่าไอเกนรวมเท่ากับ 14.148 ค่าร้อยละความแปรปรวนสะสมเท่ากับ 78.597 ค่า Communalities ทุกตัวแปรมีค่ามากกว่า .05 3) การพัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 ความคาดหวังต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วยตัวแปรแฝงใน 6 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร ค่าสัมประสิทธิ์น้ำหนักองค์ประกอบ (β) ทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักความสำคัญสูงที่สุดคือองค์ประกอบสื่อมัลติมีเดียด้านสุขภาพ (β = 0.752) รองลงมาคือองค์ประกอบโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (β = 0.547) องค์ประกอบการสืบค้นข้อมูล (β = 0.524) องค์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (β = 0.518) องค์ประกอบสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้อินเทอร์เน็ต (β =0.282) และองค์ประกอบโปรแกรมสำหรับการนำเสนอผลงาน (β =0.280) ตามลำดับ มีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าสถิติไคสแควร์เท่ากับ 181.930, df =136, p-value = 0.0052, ดัชนี CFI = 0.982, TLI = 0.979, SRMR = 0.062, RMSEA = 0.029 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง (R2 อยู่ระหว่าง 0.079 ถึง 0.565) This research aimed to study behavior in using information technology and expectations of the use of information technology of students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University (academic year 2015). The research samples which comprised of the 400 participants. The research samples were comprised of the 400 participants derived from multi-stage sampling. The data was collected using questionnaire, and it was analyzed for second order confirmatory factor analysis by application of Mplus package. The result was as follow. 1) In terms of information technology use behavior, it was found that the studied students used information technology for online communication. Apart from personal devices, the place where the students used information technology was the Faculty’s computer laboratory. Information search is the learning of information technology the students gained the most. The satisfaction of the students rated the most satisfied was Wi-Fi service. 2) The exploratory factor of student’s expectations of information technology use can be classified into the 6 factors from 18 selected variables. The factors included 1) information search, 2) application for presentation, 3) facility for the Internet use, 4) database management program, 5) provided computer set, and 6) health multimedia. The construct validity and reliability were statistically consistent at good level with MSA = 0.824, Bartlett’s Test of Sphericity = 4051.231, correlation with statistical significance at .01 with α = 0.000,sum of squares (eigenvalue) = 14.148, percentage of trace = 78.597, and variance communalities of all variables > 05. 3) For second order confirmatory factor expectation analysis, there were 6 endogenous latent variables and 18 observable variables. The factor loadings (β) of all variables are statistical significant at .01. The factor with the highest factor loading was health multimedia (β = 0.752) followed by database management system (β = 0.547), information search (β = 0.524), provided computer set (β = 0.518), facility for the Internet use (β = 0.292), and application for presentation (β = 0.280) respectively. The construct validity was consisten with empirical data at a good level with Chi-square (goodness of fit) = 181.930, df = 136, p-value = 0.0052, CFI = 0.982, TLI = 0.979, SRMR = 0.062, RMSEA = 0.029, and the loadings of R-SQUARE between 0.079-0.565.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1797
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_116.pdf8.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น