กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1766
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evaluation of doctor of Philosophy program curriculum in Educational Administration B.E. 2554 revised, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมิน
หลักสูตร
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ สถานที่ปฏิบัติงาน อาชีพ และแผนการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศูนย์นวัตกรรมการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 59 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าวิกฤตที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านกระบวนการ 1.1 ด้านบริบท โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรก คือความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ ความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับความต้องการของหน่วยงานที่ปฏิบัติ และความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกับความต้องการของผู้เรียน 1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรก คือ อาจารย์ หลักสูตรและนิสิต 1.3 ด้านกระบวนการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรก คือ อาจารย์ผู้สอนมี คุณวุฒิที่เหมาะสม อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับและศรัทธา และอาจารย์ผู้สอนมีลักษณะความเป็นผู้นำทางวิชาการ 1.4 ด้านผลผลิต โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงสามอันดับแรกคือ การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารและการจัดการหลักสูตร 1.5 ด้านผลลัพธ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ คุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาและไปปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ และคุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 2. ผลการเปรียบเทียบการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ สถานที่ปฏิบัติงาน และอาชีพ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามแผนการศึกษา โดยรวมและด้านปัจจัยเบื้องต้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านผลิต และด้านผลลัพธ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1766
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น