กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1759
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนากระบวนการนิเทศตามแนวทางการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Research and development of supervision process through lesson study approach for enhancing early childhood practicum students' learning organization competency
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิรประภา พฤธิกุล.
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การนิเทศ
การพัฒนาบทเรียน
การเรียนรู้
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการนิเทศที่มีต่อการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และความพึงพอใจของนิสิต ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งได้ ระยะ ไดแก่ การสร้าง การทดลองใช้ การนำไปใช้จริง และการนำเสนอ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี 10 เดือน ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รวมจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจงนับ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน มีโครงสร้างประกอบด้วย 1) แนวคิดพื้นฐานของ กระบวนการฯ ได้แก่ การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน การเรียนรู้แร่วมมือร่วมพลัง การไตร่ตรองสะท้อนความคิด และทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคม 2) หลักการพื้นฐานของกระบวนการฯ ได้แก่ นิสิตมีบทบาทหลักในการชี้นำตนเอง ไตร่ตรองสะท้อนความคิด สร้างองค์ความรู้ในฐานะผู้ปฏิบัติ ภายใต้วงจรเกลียวเวียนแห่งการทำงานกลุ่มแบบร่วมมือร่วมพลังกันอย่างกลุ่มลึกและต่อเนื่อง โดยอาจารย์นิเทศเป็นกัลยาณมิตรสนันสนุน กระตุ้นและให้คำปรึกษา 3) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 4) เนื้อหาประกอบด้วย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาลและกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 5) ขั้นตอนของกระบวนการแบ่งได้ 6 ระยะ ได้แก่ กำหนดบทเรียน วิจัยบทเรียน อภิปรายบทเรียน วิจัยบทเรียนรอบที่สอง อภิปรายบทเรียนรอบที่สอง อภิปรายบทเรียนรอบที่สอง และรวบรวมการเรียนรู้ 6) ลักษณะของกลุ่มพัฒนาบทเรียน เป็นการทำงานแบบร่วมมือโดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการอย่างเคารพความเท่าเทียมกัน 7) การประเมิน ได้แก่ การประเมินตามมาตรฐานสมรรถนะการจัดการการเรียนรู้ของนิสิต 2. ผลการดำเนินงานกระบวนการนิเทศฯ พบว่า 2.1) ช่วยพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิต ดังนี้ 2.1.1) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมกระบวนการฯ นิสิต 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100 พฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สูงขึ้นตั้งแต่ 1-4 ระดับ ทุกหน่วยสมรรถนะ 2.1.2) หลังการเข้าร่วมกระบวนการฯ นิสิตมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ใน 17 หน่วยสมรรถนะ และในอีก 1 หน่วยสมรรถนะ มีนิสิต 16 คน คิดเป็นร้อยละ 94.12 ตามลำดับ และ 2.2) นิสิต 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกระบวนการฯ ในระดับมากขึ้นไปทุกตัวบ่งชี้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น