กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1745
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศาลเจ้าจีนในจังหวัดชลบุรี: คติ ความคิด ความเชื่อ กำเนิดและพัฒนาการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of Chinese S้hrines in Chonburi: Principle, thought, Belief, Origin and development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมาน สรรพศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คติ
ความเชื่อ
ศาลเจ้าจีน
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยศาลเจ้าจีนในจังหวัดชลบุรี : คติ ความคิด ความเชื่อ กำเนิดและพัฒนาการถือกำเนิดของชุมชนชาวจีนชลบุรี มีลักษณะรูปแบบที่คล้ายกันคือบรรพบุรุษมีการอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าสู่พื้นที่ในอำเถอเมืองและอำเภอศรีราชาเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานความเชื่อความศรัทธาดั้งเดิมที่มีบรรพบุรุษ องค์เทพต่างๆ และต้องการสถานที่อันเป็นศูนย์รวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อแนวคิดการกำเนิดศาลเจ้าจังหวัดชลบุรีการพัฒนาการศาลเจ้าในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยแนวคิดที่ ๑ เป็นกลุ่มสถานที่ไหว้ฟ้าดิน เขตเมืองหลักสี่ทิศของออำเภอเมือง เป็นจุดเริ่มต้นไม่มีการอัญเชิญองค์เทพเจ้าประดิษฐานเพื่อเคารพ และจะกราบไหว้ตามแนวคิดเรื่อง ฟ้าดิน ซึ่งจะมีแท่นไหว้ ตามแต่ละแห่งจะออกแบบ แนวคิดที่ ๒ กำเนิดอาคารสิ่งก่อสร้างศาลเจ้า ในระยะเริ่มต้นบางแห่งนำเอาเฮียห้วย (ขี้ธูป) กระถางธูป หรือผงขี้เถ้าธูป มาจากเมืองจีน หรือจากศาลเจ้าใหญ่ นำมาบูชา เริ่มจากศาลเจ้าขนาดเล็ก หลังคามุงจากมาเป็นโครงสร้างไม้ จนพัฒนามาเป็นอาคารทรงตึก ก่ออิฐถือปูน ลักษณะรูปแบบของศาลเจ้า เป็นสถาปัตยกรรมสกุลแต้จิ๋วเป็นต้นแบบในการพัฒนาและคลี่คลายขยายขนาดและจำนวนชั้นในช่วงหลังต่อมา มีรูปแบบ การาร้างสรรค์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ตกแต่งสวยงาม มีการรับอิทธิพลแบบแผนคติความเชื่อจากศิลปะศาลเจ้าจีนต้นแบบ มีคุณค่าทางความงามความวิจิตรของฝีมือช่างที่เป็นช่างท้องถิ่นชลบุรีและช่างรับเหมามาจากนอกพื้นที่ กลุ่มบุคคลผู้ที่มีบทบาทเรียกว่าคณะกรรมการบริหารผู้นำประธานศาลเจ้า ในการบริหารจะเป็นผู้อาวุโส เป็นผู้ยึดมั่นความดีงามประกอบธุรกิจการค้าขายสำเร็จร่ำรวยเพราะศาลเจ้าแสดงบทบาททำงานด้านสาธารณะสกุลจึงต้องมี ผู้บริจาคผู้สนับสนุนทางการเงิน ศาลเจ้าจีนปรากฏทั่วไปทุกอำเภอ ของชลบุรี นอกจากเป็นสถานที่พึ่งทางใจตามคติความเชื่อปะเพณีดั้งเดิม ศาลเจ้าจีนยังมีคุณค่าทางศิลปกรรมความงามความวิจิตรเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมที่มองเห็นได้ คงอยู่เป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีของชาวจีนในจังหวัดชลบุรีสืบไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1745
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น