กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1576
ชื่อเรื่อง: โครงการการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management of logistics for community based tourism (CBT)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ พลีรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว - - การจัดการ
สาขาเศรษฐศาสตร์
โลจิสติกส์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสำรวจข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน และจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับจัดการฐานข้อมูล การทำแผนที่ และวิเคราะห์เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน จากการสำรวจภาคสนาม พบว่าจังหวัดชลบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทั้งสิ้น 45 แห่ง จำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จำนวน 34 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จำนวน 3 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวน 5 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 3 แห่ง กระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ จากนั้นจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบของแผนเชิงเลขโดยใช้โปรแกรม ArcGIS Desktop 10 จากการประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พบว่า แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีมาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 แห่งที่มีมาตรฐานคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง วัดญาณสังวราราม วัดเทพวราราม ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และชุมชนอ่างศิลา และมีแหล่งท่องเที่ยวเพียง 1 แห่งที่มีมาตรฐานอยู่ในระดับดี ได้แก่ น้ำตกชันตาเถร จากนั้นจึงจัดเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนออกเป็น 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 (R1) เดินเล่นชุมชนเก่า-ชมค้างคาวแม่ไก่-ไหว้รอยพระพุทธบาท เส้นทางที่ 2 (R2) เส้นทางธรรมชาติชายฝั่งทะเล เส้นทางที่ 3 (R2) ไหว้พระ 9 วัด ลัดเลาะชายป่า เส้นทางที่ 4 (R4) ย้อนรอยตำนาาน-นิทานพื้นบ้าน...พระรถเมรี เส้นทางที่ 5 (R5) ใกล้ชิดเกษตรกรรม ดื่มด่ำธรรมชาติ เส้นทางที่ 6 (R6) สี่ถ้ำ-ธรรมะ เส้นทางที่ 7 (R7) ธรรมชาติที่หลากหลาย และเส้นทางที่ 8 (R8) เรียนรู้วัฒนธรรมอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT) เส้นทางการท่องเที่ยว เมื่อพิจารณาถึงจุดแข็งของเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้จัดทำขึ้น พบว่า ในแต่ละเส้นมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป้นเอกลักษณ์จึงเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก และแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียง ในขณะที่จุดอ่อนของเส้นทางการท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน คือ แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่มีการบริหารจัดการ จึงมีอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว และสุดท้ายคือ การจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวชุมชนในรอบ 1 ปี เป็นการผสมผสานระหว่างเทศกาลและประเพณีต่าง ๆ ที่จัดประจำปี ร่วมกับเส้นทางการท่องเที่ยวที่ได้จัดทำขึ้นมาบรรจุไว้มนแต่ละเดือน The objectives of this research were to survey the location and data of community attractions, estimate the standard of community attractions, and set the community based tourism routes in Chon Buri province. Geographic Information System (GIS) was applied to this research. The forty-five community attractions were found from field survey including thirty-four historical attractions. three aultural attractions, five natural attractions,and three ecological attractions. Then the digital maps of community attraction were created using ArcGIS Desktop. The estimation of standard of community attractions shown that almost community attractions were lower than fifty points. There were five community attractions which were the moderate level namely, Mab Aueng agri-nature center, Mangrove forest education and conservation center for ecotourism, Wat Yannasangwararam, wat Thepwararam, and Ang-Sila community. There was only one community attraction was the good level namely, Chantathen waterfall. Then commumity based tourism routes were set including R1: Ancient community-Flying fox and mangrove-Buddha footprint worship route, R2: Coastal Dharma route, R3: Dharma along the green forest route, R4: Phrarod-Meeree folktale route, R5: Agriculture and nature route, R6: Four caves-Dharma route, R7: Varity of nature route, and R8: Learning culture and nature route. The result of SWOT analysis of community based tourism routes shown that there were the unique attractions in each route and it was an opportunity to complete with other attractions. In addition, the weakness in each route was similar in which almost attractions were lack of management. Finally, the annual travel calendar was set and all annual traditions and festivals, and also community based tourism routes were put in each month.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1576
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น