กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1549
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเล: แหล่งกรดไขมันชนิดจำเป็น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potential of marine microbes: As the source of essential fatty acids
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณิษา สิรนนท์ธนา
จารุนันท์ ประทุมยศ
จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: กรดไขมัน
จุลินทรีย์ทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การเลี้ยงยีสต์ Pichia sp. ในอาหารเลี้ยงเชื้อกากชานอ้อยที่ความเค็ม 25 พีพีที เป็นเวลา 96 ชั่วโมง พบการเจริญสูงสุดในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 72 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบกรดไขมันในตัวอย่างเซลล์ ยีสต์ พบกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFAs) ปริมาณสูงสุด 29.34 %TFA (4.99 mg/g wet wt. ; 14.18 mg/g dry wt.) มี Palmitic acid (C16:0) เป็นกรดไขมันหลัก 24.48%TFA (4.19 mg/g wet wt.; 11.90 mg/g dry wt.) รองลงมาเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) 22.51%TFA (4.45 mg/g wet wt.; 12.71 mg/g dry wt.) และ Linoleic acid (C18:2n6) เป็นกรดไขมันหลัก 18.40%TFA (3.62 mg/g wet wt, 10.33 mg/g dry wt.) และจากการวิเคราะห์คุณค่าอาหาร (Proximate analysis) มีค่าโปรตีนร้อยละ 42 ไขมันร้อยละ 0.22 ความชื้นร้อยละ 66 เถ้าร้อยละ 2 ส่วนปริมาณกรดไขมันจากเม็ดเจลที่ตรึงเซลล์ยีสต์ Pichia sp. ด้วย แคลเซียมอัลจิเนต พบกรดไขมันอิ่มตัว SFAs สูงสุด 32.61%TFA (0.08mg/g wet wt.; 0.87 mg/g dry wt.) มี Palmitic acid, C16:0 เป็นองค์ประกอบหลัก 21.20%TFA (0.033 mg/g wet wt; 0.380mg/g dry wt.) รองลงมาเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAS) 20.36%TFA (0.04 mg/g wet wt.; 0.45 mg/g dry wt.) มี Oleic acid (C18:1n9) เป็นกรดไขมันหลักในปริมาณ 17.8%TFA (0.027 mg/g wet wt;0.314 mg/g dry wt.) และพบกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAS) 9.93%TFA (0.05 mg/g wet wt.; 0.54 dry wt.) โดยมี Linolenic acid (C18:3n3) เป็นกรดไขมันหลักในปริมาณ 6.79 %TFA (0.033 mg/g wet wt.; 0.372 mg/g dry wt.) ส่วนในแอคทีโนมัยซีทจานวน 22 ตัวอย่าง ที่คัดแยกจากดินป่าชายเลนจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ จังหวัดชุมพร เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ISP2 ระยะเวลา 3-14 วัน ผลการศึกษาพบปริมาณรวมกรดไขมัน สูงสุดในตัวอย่าง CP-PH 3-9 ที่คัดแยกจากดินป่าชายเลนจังหวัดชุมพร ในปริมาณร้อยละ 41.96 กรดไขมันเป็น ชนิดอิ่มตัว (SFAs: 37.63 %TFA) ชนิดกรดไขมันหลักที่พบได้แก่ Palmitic acid (C16:0) และ Stearic acid (C18:0) ส่วนกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) พบในปริมาณที่ต่า โดยกรดไขมันชนิดจาเป็น Linoleic acid (C18:2n6) พบในตัวอย่าง CP-PH 8-8 ปริมาณ (0.86±0.03%TFA) และ α-Linolenic Acid (C18:3n3) พบในตัวอย่าง CP-PH 3-9 ในปริมาณ 0.29±0.02%TFA The marine yeast Pichia sp. was cultured in a sugarcane bagass media adjusted to a salinity of 25 ppt. for a period of 96 h. The cell density of the Pichia sp. was examined every 24 h under a microscope using a haemacytometer. Growth of the Pichia sp. was observed peak at 72 h. Determination of fatty acid composition was taken only at the culture period of 72 h. The fatty acid profile of the Pichia sp. cells was dominant in saturated fatty acids (SFAs) and polyunsaturated fatty acids (PUFAs). The SFAs and PUFAs compositions of the Pichia sp. cells were 29.34 %TFA (4.99 mg/g wet wt.; 14.18 mg/g dry wt.) and 22.51%TFA (4.45 mg/g wet wt.; 12.71 mg/g dry wt.) respectively. Of the SFAs, palmitic acid was the main fatty acid (24.48%TFA; 4.19 mg/g wet wt.; 11.90 mg/g dry wt.) while linoleic acid was the main fatty acid of the PUFAs (18.40%TFA; 3.62 mg/g wet wt., 10.33 mg/g dry wt.). Proximate analysis of the Pichia sp. showed a composition of 42% protein, 0.22 % fat, 66 % moisture and 2 % ash. The Pichia sp. cells were also encapsulated in 1.2% of calcium alginate. Results showed that the immobilized Pichia sp. had highest composition of SFAs (32.61%TFA; 0.08 mg/g wet wt.; 0.87 mg/g dry wt.), followed by monounsaturated fatty acids (MUFAs) (20.36%TFA (0.04 mg/g wet wt.; 0.45 mg/g dry wt.) and PUFAs (9.93%TFA (0.05 mg/g wet wt.; 0.54 dry wt.). The principal fatty acid of the SFAs was palmitic acid (21.20%TFA; 0.03 mg/g wet wt.; 0.38 mg/g dry wt.). Of the MUFAs and PUFAs, oleic and linolenic acids were the primary fatty acids of the MUFAs and PUFAs, respectively. The oleic acid was detected in the amount of 17.8%TFA (0.027 mg/g wet wt;0.314 mg/g dry wt.) and linolenic acid was found in the quantity of 6.79 %TFA (0.033 mg/g wet wt.; 0.372 mg/g dry wt.) Twenty two samples of Actinomycetes isolated from mangrove sediments in the area of Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Chumporn Provinces were cultured in the ISP-2 media for a period of 3-14 days before fatty acid analysis. The samples from Chumporn province revealed higher amount of fatty acid than the samples from other areas. The “CPPH 3-9” sample contained total fatty acid (TFA) in the amount of 41.96% of which the SFAs and PUFAs were found in the majority and minority quantities respectively. The “CP-PH 3-9” had SFAs about 37.63 %TFA with the palmitic and stearic acids were the predominant fatty acids. Of the PUFAs, the linoleic acid was found in the “CP-PH8-8” sample in the amount of 0.86±0.03%TFA and linolenic acid was observed in the “CP-PH 3-9” sample in the quantity of 0.29±0.02%TFA.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_067.pdf2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น