กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1516
ชื่อเรื่อง: การสร้างระบบพลาสมาดิสชาร์จแบบมีไดอิเล็กทริกขวางกั้นที่ความดันบรรยากาศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Construction the atmospheric dielectric barrier discharge plasma system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัญจน์ชญา หงส์เลิศคงสกุล
สุรสิงห์ ไชยคุณ
ดุสิต งามรุ่งโรจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ความดันบรรยากาศ
ระบบพลาสมาดิสชาร์จ
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ระบบพลาสมาดิชาร์จแบบมีไดอิเล็กทริกขวางกั้นที่ความดันบรรยากาศได้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นให้สามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า 0-15 kV ความถี่ 50 Hz ใช้แผ่นทองแดงเป็นขั้วอิเล็กโทรด และใช้แผ่นใสเป็นวัสดุไดอิเล็กทริกขวางกั้นซึ่งจะติดตั้งอยู่หน้าขั้วอิเล็กโทรดทองแดง ผลของระยะห่างระหว่างสองขั้วอิเล็กโทรดทองแดงต่อแรงดันเบรกดาวน์ที่นีออนทรานฟอร์เมอร์ ที่ตัวต้านทาน และที่ขั้วอิเล็กโทรดจะถูกวัดที่จำนวนไดอิเล็กทริกแตกต่างกัน ได้แก่ มีไดอิเล็กทริกข้างเดียว มีไดอิเล็กทริกสองข้าง และไม่มีไดอิเล็กทริก ผลการวัดแรงดันเบรกดาวน์แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มระยะห่างระหว่างขั้วอิเล็กโทรดและการเพิ่มจำนวนไดเล็กทริกจะต้องใช้แรงดันเบรคดาวน์เพิ่มขึ้นการศึกผลของระยะห่างระหว่างสองขั้วอิเล็กโทรดทองแดงต่อค่าอุณหภูมิของอิเล็กตรอนที่มีไดอิเล็กทริกข้างเดียว และมีไดอิเล็กทริกสองข้างด้วยเครื่องสเปคโตรสโคปีแบบปล่อยแสง พบว่าในระบบพลาสมาดิสชาร์จแบบมีไดเล็กทริกขวางกั้นด้วยความดันบรรยากาศจะมีค่าอุณหภูมิอิเล็กตรอนอยู่ในช่วง 3-8 eV และค่าอุณหภูมิของอิเล็กตรอนจะลดลงเมื่อมีการเพิ่มระยะห่างระหว่างขั้วอิเล็กโทรด แต่ค่าอุณหภูมิของอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มจำนวนไดเล็กทริก ดังนั้นทั้งแรงดันเบรคดาวน์และค่าอุณหภูมิของอิเล็กตรอนจะขึ้นกับระยะห่างระหว่างสองขั้วอิเล็กโทรดทองแดงและจำนวนไดอิเล็กทริก The DBD atmospheric plasma system was designed and constructed by high voltage AC source with 50 Hz frequency and 0-15 kV potential difference. Two copper plates were used to be the electrode. Transparent sheets were used to be the dielectric barrier in front of copper electrode. Effect of the gap between two copper electrodes on the breakdown voltage at neon transformer, at resistor and at electrode were measured at different amounts of dielectric barrier, such as one dielectric barrier (D1), two dielectric barriers (D2) and without dielectric barrier (D0) . The breakdown voltage measurement indicates that the breakdown voltage increased with increasing The gap between two copper electrodes and increasing amount of dielectric barrier. Effect of the gap between two copper electrodes on the electron temperature were studied at different amounts of dielectric barrier, such as one dielectric barrier (D1) and two dielectric barriers (D2). The analysis of OES indicates that electron temperature in DBD atmospheric plasma system was found in the range of 3-8 eV. The electron temperature decreased with increasing gap between two copper electrodes but the electron temperature increased with increasing amount of dielectric barrier. Therefore, both the breakdown voltage and the electron temperature depended on the gap between two copper electrodes and amount of dielectric barrier.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1516
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น