กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/13
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอุฬาริน เฉยศิริ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:42Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:42Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/13
dc.description.abstractการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการใช้ ปัญหาและอุปสรรค รูปแบบการใช้ รวมถึงเปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการสารสนเทศบนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามระดับการศึกษา ประเภทการศึกษา กลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่มช้ในการศึกษา ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ภาคปกติและภาคพิเศษ จำนวน 377 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม โดยได้รับคืนจากผู้ตอบแบบสอบถาม 314 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.28 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรสนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ศึกษาระดับปริญญาตรี และเป็นนิสิตภาคปกติมากที่สุด โดยเป็นนิสิตกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่าง 6 -10 ปี และเคยเข้าใช้เว็บไซต์ของสำนักหอสมุด ส่วนสถานที่ในการเข้าใช้เว็บไซต์ของนิสิต คือ สำนักหอสมุด วิธีการเข้าใช้เว็บไซต์คือ เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ในการเข้าใช้เว็บไซต์ คือ เพื่อประกอบการทำวิจัยหรือรายงาน และเพื่อใช้บริการต่างๆ ของสำนักหอสมุด ความถี่ในการเข้าใช้เว็บไซต์ คือ 2-3 วัน/ครั้ง และใช้เวลาโดยเฉลี่ยในการเข้าใช้เว็บไซต์น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่นิสิตเข้าใช้บริการมากที่สุดคือ ช่วงเวลาระหว่าง 13.01-17.00 น. ปัจจัยในการใช้บริการเว็บไซต์ของนิสิตคือ สะดวกในการค้นหาข้อมูล และสามารถเข้าใช้บริการได้ทุกเวลา 2. ความคิดเห็นกี่ยวกับการใช้สารสนเทศต่างๆ บนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ฐานข้อมูลที่นิสิตส่วนใหญ่ใช้มากที่สุดคือ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด(WEBOPAC) สารสนเทศบนเว็บที่ผู้ใช้ใช้มากที่สุด คือ รายการฉายภาพยนตร์ สารสนเทศบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสำนักหอสมุด ที่ใช้มากที่สุด คือ เวลาเปิด-ปิดทำการ แนะนำการใช้บริการ และระเบียบการใช้ห้องสมุด สารสนเทศในส่วนบริการอื่นๆ คือ เครือข่ายห้องสมุด 3. ปัญหาในการเข้าใช้เว็บไซต์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ในด้านผู้ใชบริการพบว่า ปัญหาในด้านความถนัดในการใช้ภาษาต่างประเทศ สูงสุด รองลมาคือ ความเข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความถนัดในการใช้ซอฟต์แวร์ ปัญหาในการนำเสนอเว็บไซต์ พบว่า ปัญหาความรวดเร็วในการนำเสนอสารสนเทศต่าง ๆ ขึ้นเว็บ ปัญหาในด้านการเข้าถึงสารสนเทศและเครือข่ายของนิสิต พบว่า มีปัญหาเปิดอ่านไฟล์ฉบับเต็มไม่ได้ จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์/วิจัย/บทความ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศมากที่สุด 4. รูปแบบของการให้บริการสารสนเทศบนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดที่ผู้ใช้บริการต้องการเพิ่มเติม พบว่า รูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการเพิ่มเติมมากที่สุด คือ บทความน่าสนใจ (สาระน่ารู้) รองลงมาได้แก่ แนะนำสารสนเทศยอดนิยม และโปรแกรมการสืบค้นรวมทุกฐานข้อมูล (Meta Search Engine) 5. ในการเปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการสารสนเทศบนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามระดับการศึกษา ประเภทการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา พบว่า การใช้สารสนเทศบนเว็บไซต์ของนิสิตระหว่างระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ประเภทการศึกษาของนิสิตระหว่างภาคปกติและภาคพิเศษ และกลุ่มสาขาวิชา โดยรวมและรายด้านมีปัญหาและอุปสรรคไม่แตกต่างกันth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากเงินรายได้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2550en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectบริการสารสนเทศ - - การศึกษาการใช้ - - วิจัยth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุดth_TH
dc.subjectเว็บไซต์ - - การศึกษาการใช้th_TH
dc.subjectสารสนเทศ - - การศึกษาการใช้th_TH
dc.subjectสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์th_TH
dc.titleการใช้สารสนเทศบนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeUsing information on Burapha university library websiteen
dc.typeResearch
dc.year2551
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study information usage, problem, types of usage and to compare the using problem to access information in Burapha University library Website classified by education level, type of student and major subject. The participating samples consisted 377 full – time and past – time undergraduate and graduate student by multistage random sampling. The questionnaire was as an instrument for collecting the data and 314 questionnaire returned equal to 83.28 percents. Frequency, means, standard deviation and one-way ANOVA were employed for the data analysis. The results were as follows: 1. General detail of samples revealed that most of all are full-time undergraduate student in Faculty of Humanities and Social Sciences used internet between 6 – 10 years and mostly used to access to Burapha University library website in Burapha University Library. The method to access is link and connect from university website. The purposes to access were to find detail to do thesis, present or other service of library center. Frequency of students usage were twice a day and less than an hour. The majority of the students access between 1.01 – 5.00 P.M. Factor affecting using website were easy to access and can be used anytime. 2. The opinion in client aspect for using information on Burapha University website revealed that student use Online Public Access Catalog (WEBOPAC) most, the most of usage information on website is movie online and other usage information involved library service are office hours, service suggestion, library regulations and library network. 3. The library usage problem in client aspect revealed that foreign language usage, understanding in new technology equipments software usage ability , in sequencely and website present problem revealed taht facilitated upload to web. Retrival data and network problems revealed that the files can't read in ful version from thesis / research / article databases all university in Thailand. 4. Type of information service on library web that students need in sequencely :interested articles, popular information and meta search engine. 5. The comparing of the problems of using information on Burapha library website classified by education level, type of students and majpr subject revealed that information usage on website between undergraduate graduate student, type of education between full-time and past-time and major subject no significant differences were found.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น