กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1356
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำจากดอกดาวเรือง Tagetes erecta
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of color accelerator for aquatic animals from marigold Tagetes erecta
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลี ไพบูลย์กิจกุล
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: คาร์โรทินอยด์
ดอกดาวเรือง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำจากดอกดาวเรือง Tagetes erecta การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของการเสริมดอกดาวเรืองในอาหารสำเร็จรูปต่อความเข้มสี อัตราการเจริญ และอัตราการอดตายของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการเสริมเม็ดสีที่สกัดจากดอกดาวเรืองเพื่อการเร่งสีในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon และการทดลองที่ 3 ศึกษาการสกัดสารสีจากดอกดาวเรือง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างชุดการทดลองโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยพบว่า กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองที่ระดับ 0,2 และ 6 เปอร์เซ็นต์มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความยาวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) แต่มีอัตราความเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความยาวน้อยกว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรือง 4 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) อัตราการรอดพบว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองทุกระดับมีอัตราการรอดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองที่ระดับ 6 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณคาร์โรทินอยด์สะสมสูงสุดแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างสำคัญ (P>0.05) การเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารมีผลทำให้กุ้งมีการสะสมคาร์โรทินอยด์ในเนื้อเยื่อมากขึ้น กุ้งที่ได้รับสารอาหารที่ผสมสารสกัดจากกลีบดอกดาวเรืองทุกระดับมีการเจริญเติบโตและอัตราการรอดไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) กุ้งที่ได้รับสารอาหารที่มีส่วนผสมจากกลีบดอกดาวเรืองสูงขึ้นจะมีการสะสมสารสีในร่างกายเพิ่มมากขึ้น กุ้งที่ได้สารอาหารผสมจากสารสกัดจากกลีบดอกดาวเรือง .04 เปอร์เซ็นต์จะมีปริมาณคาร์โรทินอยด์สูงสุดแตกต่างจากชุดทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) รองลงมาได้แก่กุ้งที่ได้รับสารอาหารที่ผสมสารสกัดจากดอกดาวเรือง 0.2,0.1 และ 0 เปอร์เซ็นต์ กุ้งที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดจากกลับดอกดาวเรืองมีการสะสมคาร์โรทินอยด์ในร่างกายได้มากกว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมสารสกัดจากกลีบดอกดาวเรือง ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าการสกัดสารสีจากกลีบดอกดาวเรืองที่เหมาะสมควรใช้ actone เป็นตัวทำละลาย ควรใช้อัตราส่วนกลีบดอกดาวเรืองต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:100 (w/v) ใช้เวลาในการสกัดนาน 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าดอกดาวเรืองมีศักยภาพสูงในการใช้เป็นสารเร่งสีในกุ้งทั้งการใช้กลีบดอกโดยตรง และการสกัดสารสีมาใช้เพื่อเพิ่มความเข้มข้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1356
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น