กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1316
ชื่อเรื่อง: การพัฒนามาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing Standard Aging Health Care in Nursing Home
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
เวธกา กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
วารี กังใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลสุขภาพ
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง ใช้แนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยใช้เทคนิคและขั้นตอนการสร้างมาตรฐานกลาง ของเมสัน (Mason, 1994) ตามขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง 2) ร่างมาตรฐานกรดูแลผู้สูงอายุโดยศึกษาข้อมูลจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการพร้อมทั้งทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ 3) ระดมสมองโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกร่างมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ 4) การสอบถามความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรฐาน 5) วิเคราะห์ ปรับปรุงและสรุปมาตรฐานการดูแลในศูนย์การให้บริการผู้สูงอายุแบบพักค้างที่อยู่ในเขตภาคตะวันออก ใช้เวลาในการศึกษาตั้งแต่ ตุลาคม 2555 ถึง กันยายน 2556 ประชากรคือ ผู้รับบริการและผู้ให้บริการของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออก จำนวน 3 แห่งคือ ชลบุรี 2 แห่ง จันทบุรี 1 แห่ง จำนวน 74 คน เป็นผู้ให้บริการ 33 คน ผู้สูงอายุ 41 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มโดยสุ่มเลือกหน่วยงาน 1 หน่วยงาน (ชลบุรี) และสุ่มอย่างง่ายจากประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง 53 คน เป็นผู้ให้บริการ 26 คน และผู้สูงอายุ 27 คน ผลการพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 10 มาตรฐาน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านสุขภาพ 3) สิทธิและความคุ้มครอง 4) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและระบบความปลอดภัย และ 5) ด้านระบบมาตรฐานภายใน ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศูนย์การให้บริการแบบพักค้าง พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.51, SD= .64) และเมื่อพิจารณามาตรฐานเป็นรายด้าน พบว่า สามารถเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านระบบมาตรฐานภายใน (X=4.60, SD=.80) ระดับมากที่สุด 2) องค์ระกอบด้านสภาพแวดล้อมทางภายภาพและระบบความปลอดภัย (X=4.55, SD=.68) ระดับมากที่สุด 3) องค์ประกอบด้านสิทธิและการได้รับความคุ้มครอง (X=4.45, SD=.76) ระดับมาก 4) องค์ประกอบด้านสุขภาพ (X=4.44, SD=.79) ระดับมากและ 5) องค์ประกอบด้านบริหารจัดการ (X=4.37, SD=.59) ระดับมาก The purpose of this research was developing standard aging health care in nursing home by using participatory action research. The research has five phases of study; Phase I: Exploring problems and situation of aging health care, Phase II: Documentation review and analysis, Phase III: Developing aging health care standard in nursing home with users and providers by using PAR with 53 participants (26 providers and 27 elders), Phase IV: Aging perspective with appropriation and feasibility of this standard and Phase V: Improvement standard by focus group method. Samples were sampling from 74 populations of three nursing homes in the eastern region of Thailand. Statistics employed were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. It was found that the aging standard health care in nursing home contained of 5 components and 10 standards namely; component 1: Effective management, component 2: Quality of health care services, component 3: Service user right and responsibilities, component 4: Good safety and environment and component 5: Internal process. The appropriateness of this standard was in the most agree level (X = 4.51, SD = .64). The standard of internal process (X = 4.60, SD = . 80) and the standard of good safety and environment ( X = 4.55, SD = .68) were in the highest level.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1316
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
med2n1p34-50.pdf150.82 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น