กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1300
ชื่อเรื่อง: ปริมาณคลอไรด์ที่ผิวหน้าและการแทรกซึมคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่สิ่งแวดล้อมทะเลของไทย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ปีที่ 1)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Surface chloride content and chloride penetration of reinforced concrete structures in marine environment of Thailand)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คอนกรีต
เกลือคลอไรด์
สิ่งแวดล้อมทางทะเล
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปริมาณคลอไรด์ที่ผิวหน้าและการแทรกซึมคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่สิ่งแวดล้อมทะเลของไทย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปริมาณคลอไรด์ที่ผิวของโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมทะเลของไทย 2. เพื่อศึกษาการแทรกซึมคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมทะเลของไทย 3. เพื่อวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์การแพร่ของเกลือคลอไรด์ในคอนกรีต 4. เพื่อนำข้อมูลจากการวิจัยที่ได้ไปประบปรุงส่วนผสมของคอนกรีตและออกแบบโครงสร้างคอนกรีต ให้มีความสามารถในการต้านทานคลอไรด์มากยิ่งขึ้น ขอบเขตการศึกษา ทำการศึกษาค่าปริมาณเกลือคลอไรด์ที่ผิวและการแทรกซึมคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมทะเลของไทยบริเวณภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี โดยเก็บตัวอย่างจากโครงสร้างสะพาน ท่าเทียบเรือ และกำแพงกันคลื่น ที่มีอายุการใช้งานแตกต่างกัน และมีการใช้ส่วนผสมคอนกรีตที่แตกต่างกัน แล้วนำมาวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์การแพร่ของเกลือคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีต จากผลการศึกษาปริมาณเกลือคลอไรด์ที่ผิวหน้าและการแทรกซึมคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่สิ่งแวดล้อมทะเลของไทย ในปีที่ 1 ของโครงการวิจัย สามารถสรุปผลการวิจัยเบื้องต้นได้ดังนี้ 1. ปริมาณเกลือคลอไรด์ที่ผิวหน้าและการแทรกซึมของเกลือคลอไรด์ภายในคอนกรีตของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมีค่ามากขึ้น เมื่อโครงสร้างนั้นเผชิญในสิ่งแวดล้อมทะเลนานขึ้น อีทั้งปริมาณเกลือคลอไรด์ในโครงสร้างคอนกรีต มีแนวดน้มลดลงเมื่อระยะทางวัดจากผิวด้านนอกของโครงสร้างมากขึ้น 2. ปริมาณเกลือคลอไรด์ที่ผิวหน้าและการแทรกซึมของเกลือคลอไรด์ภายในคอนกรีตของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่บนพื้นดินจะมีค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างที่มีการสัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง 3. เมื่อโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเผชิญกับสิ่งแวดล้อมคลอไรด์เป็นระยะเวลานานขึ้น พบว่า ปริมาณเกลือคลอไรด์ที่ผิวหน้าของคอนกรีตมีแนวโน้ม 4. ปริมาณเกลือคลอไรด์ที่ผิวหน้าของโครงสร้างคอนกรีตที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมคลอไรด์ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายปัจจัย เช่น อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน ระยะเวลาเผชิญคลอไรด์ ระยะห่างจากชายฝั่งทะเล และความสูงจากระดับน้ำทะลสูงสุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1300
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_239.pdf3.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น