กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/119
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการเลี้ยงปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris) ด้วยอาหารสำเร็จรูป : ประสิทธิภาพการย่อยอาหารสำเร็จรูปด้วยเอนไซม์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement of rearing false clown anemonefish (Amphiprion ocellaris) by feeding practical diets: In vitro digestibility efficiency of practical diets with crude enzyme
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุนันท์ ประทุมยศ
ปิยะวรรณ ศรีวิลาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ปลาการ์ตูนส้มขาว - - การเลี้ยง
ปลาการ์ตูนส้มขาว - - วิจัย
ปลาการ์ตูนส้มขาว - - อาหาร
ปลาสวยงาม - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ศึกษาประสิทธิภาพการย่อยอาหารสำเร็จรูป 5 สูตร ด้วยเอนไซม์ปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris) นำวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน สาหร่ายสไปรูไลนา และสาหร่ายใบเฟิร์นมาทดแทนปลาป่นในอาหารสำเร็จรุปสูตรที่ 2-5 อาหารสำเร็จรูปสูตรที่ 1 เป็นสุตรควบคุมไม่มีวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช สุตรที่ 2 ประกอบด้วยกากถั่วเหลืองอัดน้ำมันและสาหร่ายสไปรูไลนา 20 เปอร์เซ็นต์ และสูตรที่3-5 ประกอบด้วยกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน สาหร่ายสไปรูไลนา และ สาหร่ายใบเฟิร์น 10 เปอร์เซ็นต์ โดยอาหารสำเร็จรูปทุกสูตรมีปริมาณโปรตีน 62.5 -64 เปอร์เซ็นตื สกัดเอนไซม์จากระบบทางเดินอาหารปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris) อายุ 3 เดือน 5 เดือน และ 6เดือน นำเอนไซม์ไปย่อยอาหารสำเร็จรูปที่อุณหภูมิ 25 º C เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าปลาการ์ตูนส้มขาว (A.ocellaris) ทั้ง 3 อายุ มีประสิทธิภาพการย่อยอาหารสำเร็จรูปไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ปลาการ์ตูนส้มขาว (A.ocellaris) ทั้ง 3 อายุมีประสิทธิภาพการย่อยอาหารสำเร็จรูปสุตรที่ 2 สุตรที่ 3 และสูตรที่ 5 แตกต่างจากอาหารสำเร็จรูปสุตรที่ 4 อย่างมียันสำคัญ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม ประสิทิภาพการย่อยอาหารสำเร็จรูปของปลาการ์ตูนส้มขาว (A.ocellaris) ในอาหารสำเร็จรูปสูตรควบคุม (สูตรที่ 1) ไม่แตกต่างจากอาหารสำเร็จรูปสูตรอื่น ๆ ที่มีวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชทดแทนปลาป่นทุกสูตร สรุปได้ว่าในอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาการ์ตูนส้มขาว (A.ocellaris) สามารถใช้กากถั่วเหลืองอัดน้ำมันสาหร่ายสไปรูไลนา และ สาหร่ายใบเฟิร์น (Caulerpa sp.) ทดแทนปลาป่นได้อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/119
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น