กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1068
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและอะโพโทซิส ของสารสกัดจาก Sargassum oligocystum Montagne
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Antiproliferative activities and induction of apoptosis by the extracts of Sargassum oligocystum Montagne on cancer cells
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทรวรรณ แสงแข
ธิดารัตน์ น้อยรักษา
จงกลณี จงอร่ามเรือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: ยับยั้งการเจริญเติบโต
อะโพโทซิส
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สาหร่ายสีน้ำตาลถูกใช้ในยุคโบราณ มีส่วนประกอบหลายชนิดออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่นยับยั้งเซลล์มะเร็งและกระตุ้นอะโพโทซิส การศึกษานี้ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาล Sargassum oligocystum Montagne (SOM) บริเวณฝั่งทะเลอ่าวไทย ต่อการยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก และอะโพโตซีส ตัวอย่างสดของ SOM ถูกนำมาสกัดด้วย dichloromethane และ ethyl acetate (1:1) ได้เป็นสารสกัดหยาบ นำมาบ่มกับเซลล์ที่ความเข้มข้นแตกต่างกันนาน 72 ชั่วโมง ศึกษาการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยในเซลล์มีชีวิตมีเอนไซม์ mitochondrial dehydrogenase ซึ่งจะเปลี่ยนสารละลาย tetrazolium salt (MTT) ได้เป็น formazan นับจำนวนนิวเคลียสที่มีลักษณะอะโพโทซิสโดยการย้อมสี DAPI และ Propidium iodide (PI) ศึกษาการแตกของ DNA โดย agarose gel electrophoresis สารสกัด SOM ทำให้เซลล์ตาย โดยการตายเพิ่มขึ้นตามขนาดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ที่ความเข้ม 132 ±5.63 μg/ml สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ได้ 50% โดยเซลล์ที่ตายหลุดจากพื้นผิวง่าย มี apoptotic body เซลล์มีลักษณะกลม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เหยียดเกาะพื้นเป็นรูปกระสวย การประเมินเชิงปริมาณโดยย้อมสีนิวเคลียสด้วย DAPI และ PI พบโครมาตินหนาแน่น นิวเคลียสแตก เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีลักษณะกลมติดสีเรียบเนียน พบเซลล์มีชีวิตที่มีลักษณะอะโพโตซีส 20±3.9%, เซลล์ตายแบบอะโพโตซีสระยะหลัง 6.84±0.7% และเซลล์ปกติ 40.32±4.5% นอกจากนี้ยังพบการแตกของ DNA ฟุ้งกระจายใน agarose gel ผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัด SOM ทำให้เซลล์ตายร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะของอะโพโตซีสเช่น ผนังเซลล์เป็นตุ่ม, โครมาตินหนาแน่น, นิวเคลียสและ DNA แตก ซึ่งอะโพโตซีสเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ในการศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มรายละเอียดในกลไกของอะโพโทซิส
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1068
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_023.pdf969.97 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น