กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1016
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:11Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:11Z
dc.date.issued2534
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1016
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเปรียบเทียบ (Survay and Comparative Study) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกันและเปรียบเทียบทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา กับนักศึกษาจากหลักสูตรอื่น ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากประชากรที่เป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากหลักสูตรอื่นที่ไม่ได้ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมเป็นกรอบโครงสร้างของหลักสูตร และนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาวิชาอื่นในปีการศึกษา 2535 จำนวนรวมทั้งสิ้น 661 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชน ซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงจากแบบวัดที่ สมจิต หนุเจริญกุล และคณะ ได้ดัดแปลงจากแบบวัดของลินน์และลีวิส (Linn & Lewis) โดยนำมาหาอำนาจจำแนกรายข้อและหาความเที่ยงด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (α-Coefficient) ได้ 0.70 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงปีการศึกษา 2535 ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรอื่นอยู่ในระดับสูงโดยคะแนนเฉลี่ยของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาสูงที่สุด รองลงมาคือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรอื่น และนักศึกษาสาขาวิชาอื่น นิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรอื่นที่มีระดับชั้นปีต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนต่างกันโดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นตามลำดับชั้นปี ส่วนนักศึกษาสาขาอื่นนั้น พบว่า คะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนในแต่ละชั้นปี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นิสิตพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรอื่น มีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนแตกต่างกับนักศึกษาสาขาวิชาอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยทัศนคติของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กับนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรอื่นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2534en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleเปรียบเทียบทัศนคติต่อการดูแลตนเองของประชาชนของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพากับนักศึกษาจากหลักสูตรอื่นth_TH
dc.title.alternativeComparative study between attitude toward self-care of people of underopaduate students from orther curricularen
dc.typeResearch
dc.year2534
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this survay and comparative research were to study and compare attitude toward self-care of people of nursing students of Burapha University and undergraduate students from orther curricular classified by the class levels and to compare attitude toward self-care of people of nursing students of Burapha University and undergraduate students from orther curricular. The purposive 661samples were undergraduate nursing students of Burapha University, undergraduate nursing students of orther institutions which have not use Orem's self-care theory as a basis of curriculum framework,and general university students in the year of 1992. The research instruments were a questionnair for general information and Self-Care attitude of people developed by Linn and Lewis,and revised by Professor Dr.Somchit Hanuchareonkul and the researcher. The item discrimination was computed and α-cronbach Internal Reliability Coefficient was 0.70. The data were collected in academic year 1992. The major findings were ; mean scores of attitude toward self-care of people of the Nursing Students of Burapha University and undergraduate students from orther curricular indicated high rank and the mean score of the Nursing Students of Burapha University was the highest. Analysis of variance on mean scores indicated nursing students of Burapha University and nursing students of orther institutions had significantly higher self-care Attitude scores than the general university students ; nursing students of Burapha University and nursing students of orther Institutions classified by class levels perceived statistical significant differences in attitude toward self-care of people and the mean scores showed the rank orders by class levels, however general university students' self-care attitude scores showed no statistical significant differences while compared by class levels.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_093.pdf5.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น