กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10042
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.advisorอุษณากร ทาวะรมย์
dc.contributor.authorศศิวิมล กองทรัพย์เจริญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:44:03Z
dc.date.available2023-09-18T07:44:03Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10042
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดงจังหวัดระยองและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการ สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสุขภาพ ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 270 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และแบ่งความต้องการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อสอบถามความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุตามแนวทางของการจัดทำมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุของกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ทั้ง 6 ด้าน แล้วนำผลการสำรวจมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ประกอบด้วยความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวเป็นอันดับแรกรองลงมา คือ ด้านที่พักอาศัย ด้านรายได้ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลและด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนผู้สูงอายุเป็นด้านที่ผู้สูงอายุต้องการเป็นลำดับสุดท้าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ สถานภาพสมรส รายได้แหล่งที่มารายได้ที่พักอาศัย จำนวนสมาชิกในครอบครัวและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองที่ต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการทั้งภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันแต่ผู้สูงอายุที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการด้านนันทนาการและด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความต้องการด้านรายได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีอาชีพต่างกัน มีความต้องการด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.subjectสวัสดิการ
dc.titleความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
dc.title.alternativeThe socil welfre needs of elderly in tsit subdistrict plukdeng district ryong province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeResearch on “The Social Welfare of Elderly in Tasit Subdistrict, Pluakdaeng District, Rayong Province” aimed to study the social welfare needs of the elderly in Tasit Subdistrict, Pluakdaeng District, Rayong Province; and to compare social welfare needs of the elderly in Tasit Subdistrict, Pluakdaeng District, Rayong Province was classified by demographic factors, economic factors, family factors and health factors, the sample population used in this research was the elderly in Tasit Subdistrict, Pluakdaeng District, Rayong Province, aged 60 years or more, was a total of 270 people, by using questionnaires as a tool to collect data and divided the needs into 4 levels to inquire the social welfare needs of the elderly according to the guidelines of the preparation of the standard of assistance for the elderly of the Department of Local Government Promotion, Ministry of Interior, in all 6 aspects, and the results of the survey were processed and analyzed by using statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation, and hypothesis testing using t-test and One-way ANOVA. The study found that in the overall, the elderly had a high level of welfare needs, when classified by each aspect, it was found that the social security, family, caregivers and protection were the first rank, followed by the housing, the income, the recreation, the health and medical care and the building service and networks to support the elderly were the last rank that the elderly had need; the results of hypothesis testing found that the elderly who had different gender, marital status, income, source of income, residence, number of family members and abilities in self-help, there were no differences in overall and each aspect of the welfare needs, but the elderly of different ages, there was a statistically significant difference in the recreation and the building service and networks to support the elderly at the level of 0.05, the elderly of different education level, there was a statistically significant difference in the income at the level of 0.05, and the elderly of different occupations, there was a statistically significant difference in the social security, family, caregivers and protection at the level of 0.05
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61930022.pdf2.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น