กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10033
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of thi literture lerning model pplying constructivism nd coopertive lerning to enhnce 21st century skills of mtthyomsuks 6 students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิมลรัตน์ จตุรานนท์
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
สุภัทรพงศ์ รวงผึ้งรุ่งโรจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: วรรณคดีไทย
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวิธีการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย (R1) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือฉบับร่าง และการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (D1) ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Try out) (R2) ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (D2) ขั้นที่ 5 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (R3) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีจับฉลาก และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาแบบประเมินความสามารถด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและด้านการสื่อสารสารสนเทศการรู้เท่าทันสื่อแบบประเมินพฤติกรรมด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมภาวะผู้นำ และความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และแบบวัดเจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test Dependent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการจุดมุ่งหมายกระบวนการจัดการเรียนรู้ (ขั้น ที่ 1 สรรค์สร้างแรงจูงใจขั้นที่ 2 ขานไขประสบการณ์ล้ำค่า ขั้นที่ 3 พิจารณาค้นคว้าองค์ความรู้ขั้นที่ 4 ควบคู่ เผยแพร่ผลงาน ขั้นที่ 5 เชี่ยวชาญด้วยการตรวจสอบ) การวัดและการประเมินผล บทบาทของครู และบทบาทของนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก ( X = 4.65, SD = 0.64) 2. ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้ 2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนมีความสามารถในทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาหลัเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 นักเรียนมีความสามารถด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม และด้านการสื่อสารสารสนเทศรู้เท่าทันสื่อ มีคะแนนเฉลี่ย 22.24 คะแนน อยู่ในเกณฑ์การจัดอันดับคุณภาพดีมาก 2.4 นักเรียนมีพฤติกรรมความร่วมมือการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ และความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม มีคะแนนเฉลี่ย 87.13 อยู่ในเกณฑ์การจัดอันคุณภาพดีมาก 3. เจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.72, SD = 0.52)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10033
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810130.pdf2.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น