กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10016
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Predictive fctors of dul contrceptive protection mong femle voctionl students in chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนภา หอมสินธุ์
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
ภัทราภรณ์ ปามุทา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: คุมกำเนิด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
นักเรียนอาชีวศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากความล้มเหลวในการคุมกำเนิดของวัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราชุกของการคุมกำเนิดแบบสองวิธีและปัจจัยทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในจังหวัดชลบุรีโดยใช้กรอบแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสารแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นอายุ 18-24 ปี ที่ศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาของภาครัฐ ในเขตจังหวัดชลบุรีที่ระบุว่า มีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่าน จำนวน 393 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งหลายขั้น ตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (e-questionnaire) ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมการคุมกำเนิด แบบสองวิธีความรู้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีการสื่อสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบสองวิธีกับคู่นอน การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธีการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ การตั้งครรภ์และการรับรู้ประโยชน์ของการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ในช่วง 0.852-0.969 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงมีอัตราการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีในการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 64.6 ปัจจัยที่สามารถทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ได้แก่ ความรู้ในการคุมกำเนิดแบบสอบวิธี (Adjusted Odds Ratio (AOR) = 1.082, 95% CI = 1.003-1.266) การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ การตั้งครรภ์(AOR = 1.148, 95% CI = 1.003-1.313) และการรับรู้ประโยชน์ของการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 1.188, 95% CI = 1.005-1.405) การสื่อสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบสองวิธีกับคู่นอน (AOR = 1.587, 95% CI = 1.275-1.976) และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 4.172, 95% CI = 2.728-6.380) ในขณะที่ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 0.946, 95% CI = 0.827-1.083) และการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 0.922, 95% CI = 0.760-1.119) ไม่สามารถทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีได้ ผลจากการวิจัยนี้เสนอว่า แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธี สำหรับวัยรุ่นหญิงควรเน้นการเสริมสร้างความรู้ สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงและประโยชน์รวมทั้งจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะเฉพาะด้านการสื่อสาร และทักษะการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10016
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920036.pdf2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น